วันที่ 1 มีนาคม 2565 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (Office of the United States Trade Representative – USTR) ได้นำรายงาน “2022 Trade Policy Agenda & 2021 Annual Report of the President of the United States on the Trade Agreements Program” เสนอต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ตามข้อกำหนดของกฎหมาย Trade Act of 1974 ของสหรัฐฯ และ Uruguay Round Agreements Act ของ World Trade Organization และได้เปิดเผยรายงาน 312 หน้าต่อสาธารณชน โดยมีสาระสำคัญดังนี้ […]

ที่ผ่านมาคนเยอรมันมักมีคำพูดติดปากว่า “เรื่องกิน – ดื่ม เป็นสิ่งที่ต้องทำกันอยู่แล้ว” ดังนั้น การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าบริโภคจึงค่อนข้างจะมั่นคงและมีเสถียรภาพค่อนข้างมาก ซึ่งไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ใด ๆ ขึ้นมา ก็ไม่เคยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจสินค้าบริโภคเลย แต่สำหรับวิกฤติโควิด-19 นั้นไม่เหมือนวิกฤตการณ์ครั้งไหน เพราะส่งผลกระทบไปทั่วในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคที่ประสบกับปัญหาต่าง ๆ มาตั้งแต่ปี 2019 จนถึงต้นปี 2022 เมื่อพิจารณาความต้องการสินค้าบริโภคใน Supermarket ต่าง ๆ ในมิติของผู้บริโภคโดยทั่วไปยังอยู่ในระดับที่สูง ในขณะที่หากพิจารณาในมิติของร้านอาหาร/ภัตตาคารต่าง ๆ กลับปรับตัวลดลง จากข้อมูลของสถาบันเพื่อการวิจัยทางเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยมิวนิค (Ifo – Institut für Wirtschaftsforschung an der Universität München) เปิดเผยว่า ดัชนีค่าประเมินการประกอบธุรกิจในอนาคตอยู่ที่ -25.9 จุด ต่ำกว่าช่วงต้นปี 2021 ถึงเท่าตัว ในขณะที่ นาง Stefanie Sabet ผู้บริหารสมาพันธ์อุตสาหกรรมอาหารเยอรมนี (BEV – Bundesvereinigung der deutschen […]

สงครามยูเครนกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคอุตสาหกรรมหลายประเภท ทั้งนี้ โรงงานถลุงโลหะและโรงงานผลิตกระดาษได้ทยอยปิดโรงงาน อุตสาหกรรมรถยนต์ต้องลดกำลังการผลิต ส่วนบริษัทขนส่งมีความกังวลต่อภาวะล้มละลาย และชาวประมงบางส่วนเริ่มทิ้งเรือของพวกเขาไว้ที่ท่าเรือ ราคาน้ำมันและแก๊สที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจากผลของสงครามยูเครนในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลให้เศรษฐกิจเยอรมันชะลอตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาพลังงานกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาที่แพงขึ้นอย่างฉับพลัน สิ่งที่อันตรายคืออุตสาหกรรมเหล่านี้จะไม่สามารถรองรับ”ราคาน้ำมันและแก๊สที่เพิ่มอย่างมาก” ได้เป็นระยะเวลานาน นาย Siegfried Russwurm ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมเยอรมัน (BDI) แสดงความกังวล อุตสาหกรรมถลุงโลหะ อุตสาหกรรมโลหะถือว่าได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น โรงถลุงโลหะ Lech ในเมือง Meitingern  แคว้นบาวาเรีย ต้องหยุดการผลิต เนื่องจากบริษัทเป็นบริษัทถลุงโลหะแบบใช้ไฟฟ้าในการหลอมโลหะซึ่งปกติต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมหาศาลมากกว่าเตาหลอมปกติ การดำเนินการผลิตดังกล่าวต่อไปถือว่าไม่สมเหตุสมผลในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน “พวกเรากำลังทยอยปิดการผลิต” โฆษกของบริษัท Lech อธิบาย อุตสาหกรรมแก้ว อุตสาหกรรมแก้ว อีกหนึ่งภาคส่วนสำคัญซึ่งใช้แรงงาน 900,000 คน ก็กำลังได้รับผลกระทบจากราคาแก๊สที่พุ่งทะยาน “อุตสาหกรรมแก้วต้องพึ่งพาแก๊สธรรมชาติอย่างน้อยร้อยละ 70 สำหรับการผลิตปกติเพื่อปกป้องความเสียหายต่อรางแก้ว” โฆษกของสมาคมอุตสาหกรรมกล่าว ทั้งนี้ผู้ผลิตแก้วบางส่วนได้ดำเนินการปิดโรงงานแล้ว อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมเคมีเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากราคาพลังที่เพิ่มขึ้น สมาคมอุตสาหกรรม VCI ได้แสดงความเห็นว่า “หากแก็สกลายเป็นสินค้าหายากในยุโรป สถานการณ์จะย่ำแย่อย่างมาก” นาย Wolfgang Große Entrup กล่าวเตือน ตามรายงานของสมาคมฯ […]

เนื้อหาสาระข่าว การแพร่ระบาดของ COVID–19 สายพันธุ์โอมิครอนที่รุนแรงมากขึ้นในสหรัฐฯ ส่งผลทำให้ชาวอเมริกันมีแนวโน้มที่จะลดการดำเนินกิจกรรมนอกบ้านลง และหันไปใช้จ่ายเงินเพื่อเลือกซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยแนวโน้มดังกล่าวอาจจะมีส่วนสำคัญส่งผลกระทบทำให้อัตราเงินเฟ้อในตลาดสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องได้ในอนาคต Mr. Jack Kleinhenz ตำแหน่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สมาพันธ์การค้าปลีกแห่งชาติ (National Retail Federation หรือ NRF) กล่าวว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 สายพันธุ์ใหม่อาจจะมีส่วนทำให้ผู้บริโภคในตลาดหันไปเลือกใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้ามากกว่าการบริการ และอาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรวมถึงภาคธุรกิจในสหรัฐฯ ในระยะยาว ทั้งนี้ แม้ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนในสหรัฐฯ จะไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรงต่อความต้องการบริโภคของชาวอเมริกัน แต่การที่ชาวอเมริกันต้องอยู่อาศัยภายในที่พักอาศัยมากขึ้นอาจจะส่งผลทำให้ผู้บริโภคหันไปเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ทดแทนกลุ่มสินค้าบริการ เช่น การรับประทานอาหารตามร้านอาหาร และการออกไปดำเนินกิจกรรมภายนอกที่อาจจะมีข้อจำกัดในบางพื้นที่ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวน่าจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับอุตสาหกรรมการขนส่งและห่วงโซ่อุปทานในตลาดโลกที่ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นของการแพร่ระบาด และมีโอกาสทำให้อัตราเงินเฟ้อในตลาดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ Mr. Kleinhenz ยังกล่าวว่า การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในแต่ละระลอกส่งผลกระทบให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงของผลกระทบทางเศรษฐกิจในแต่ละครั้งกลับมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ และยังพบว่า การแพร่ระบาดในครั้งนี้ผู้บริโภคชาวอเมริกันส่วนมากยังคงมีความเชื่อมั่นในสถานการณ์และยังคงกล้าที่จะใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการต่อเนื่อง เพราะประชากรชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันครบโดสแล้ว อีกทั้ง ผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่ยังมีอาการไม่รุนแรงในผู้ป่วยบางรายแทบไม่มีอาการ จึงทำให้ผู้บริโภคในตลาดยังมีความเชื่อมั่นต่อภาวะทางเศรษฐกิจและยังคงใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนในสหรัฐฯ โดยรวมยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากข้อมูลสถิติจำนวนผู้ติดเชื้อของมหาวิทยาลัย […]

กฎหมาย Organic Foods Production Act กำหนดให้ใช้สารธรรมชาติและห้ามใช้สารสังเคราะห์ในการผลิตสินค้าที่ปิดฉลากว่าเป็น “organic” หรือ “made with organic…….” แต่มีสารสังเคราะห์ สารที่ไม่ได้มาจากการเกษตร และสารที่มาจากการเกษตรที่ไม่ใช่อินทรีย์บางรายการที่ได้รับการยกเว้นและอนุญาตให้ใช้ในการผลิตสินค้าอินทรีย์ หรือที่เรียกว่า ‘ออร์แกนิก’ ได้ เฉพาะที่กำหนดไว้ใน National List ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (U.S. Department of Agricultural – USDA) จากคำแนะนำของ National Organic Standards Board (NOSB) และผ่านการประชาพิจารณ์แล้ว ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2022 USDA ได้ประกาศ National List of Allowed and Prohibited Substances for Organic Foods ฉบับใหม่ ปรับปรุงรายชื่อสารที่อนุญาตให้ใช้และสารต้องห้ามที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหารออร์แกนิก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ […]

แม้ว่าผู้ประกอบการค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านซัพพลายเชน สินค้าขาดแคลนอันสืบเนื่อง ความล่าช้าในการขนส่งสินค้าที่ท่าเรือรวมทั้งจากการส่งมอบสินค้าล่าช้าจากภาคการผลิตในต่างประเทศ แต่มิได้มีผลต่อการยับยั้งความต้องการ (Demand) การซื้อสินค้าทางออนไลน์ของผู้บริโภคอเมริกันในช่วงเทศกาลการใช้จ่ายครั้งสำคัญของปีในปีที่ผ่านมา เห็นได้จากตัวเลขยอดขายของธุรกิจอีคอมเมริซ์ของสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2564 มีมูลค่ามากถึง 204.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ จากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Adobe Digital Economy Index ของบริษัท Adobe โดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเวปไซด์ทางออนไลน์ที่มีผู้เข้าชมมากกว่าล้านล้านครั้ง (Trillion) ด้วยจำนวนสินค้า 100 ล้าน SKUs และกลุ่มสินค้า 18 รายการ ซึ่งในรายงานได้เปิดเผยว่า:     ในช่วงระยะเวลา 30 วันในช่วงเทศกาล คนอเมริกันสั่งซื้อสินค้ามีมูลค่าเกิน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในแต่ละวัน  โดยร้อยละ 43 เป็นการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ มีมูลค่าถึง 88 พันล้านเหรียญฯ ในช่วงสัปดาห์ก่อนเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้า (วันที่ 1 – […]

Greenpeace พยายามผลักดันให้มีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์และนม เนื่องจากการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเป็นการสนับสนุนให้การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยเสนอนโยบายให้รัฐบาลกลางปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเป็นร้อยละ 19 ซึ่งจากเดิมคิดภาษีร้อยละ 7 รวมทั้งให้ปรับลดภาษีสำหรับผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากพืช เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์จากพืช ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนาย Matthias Lambrecht ผู้เชี่ยวชาญของ Greenpeace กล่าวว่า การบริโภคการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมในเยอรมนีทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศประมาณ 6,000 ล้านยูโรต่อปี แต่ราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ได้สะท้อนราคาต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่แท้จริง นาย Cem Özdemir รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหารและเกษตรของรัฐบาลกลาง ได้กล่าวสนับสนุนนโยบายดังกล่าว และให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมให้ไม่มีราคาขยะหรือต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งสนับสนุนให้ชาวเยอรมันบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยการเสนอนโยบาย ดังนี้1)  ลดการทำฟาร์มเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการสนับสนุนให้มีการเพิ่มการทำเกษตรอินทรีย์เป็น 30% ภายในปี ค.ศ. 20302)  ลดการทำฟาร์มเกษตรหรือปศุสัตว์ในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของสัตว์ ลดการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์สัตว์ และลดการทำลายสิ่งแวดล้อม3)  การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงด้านสิ่งแวดล้อม4)  การกำหนดมาตรฐานใหม่ในการควบคุมน้ำตาลและเกลือในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป นอกจากนี้ นาย Klaus Mülller คณะกรรมการสมาคมกลางผู้บริโภคแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Verbraucherzentrale Bundesverband) ก็ได้กล่าวสนับสนุนนโยบายการลดภาษีผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารจากที่ทำมาจากพืช และขึ้นภาษีผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และนม เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ทำมาจากพืชเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวยังคงได้รับการวิจารณ์จากพรรคฝ่ายค้าน […]

สำนักข่าว New Hope Network รายงานข้อมูลตลาดสินค้าธรรมชาติและสินค้าเกษตรอินทรีย์ในระหว่างงานแสดงสินค้า Natural Expo West เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ตลาดสินค้าธรรมชาติและสินค้าเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ลดลงเล็กน้อยในช่วงระหว่างที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าปัจจัยดังกล่าวจะมีอิทธิพลทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันมีพฤติกรรมกักตุนสินค้าอุปโภคบริโภคมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มตลาดสินค้าธรรมชาติและสินค้าเกษตรอินทรีย์สหรัฐฯ โดยรวมยังคงมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราราวร้อยละ 4 ในปี 2666 และร้อยละ 5 ในปี 2567 ตามลำดับ ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดสินค้าธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์สหรัฐฯ จะมีอัตราการขยายตัวลงลงในช่วงที่ผ่านมาก็ตามแต่หากวัดมูลค่าตลาดรวมยังถือว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงโดยปัจจุบันมีมูลค่าตลาดทั้งสิ้น 2.74 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งยังคาดว่า มูลค่าตลาดจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2567 และเพิ่มขึ้นเป็น 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2573 Ms. Carlotta Mast ตำแหน่ง Senior Vice President สำนักข่าว New Hope Network กล่าวว่า ปัจจัยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ยอดจำหน่ายสินค้าในอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปี […]

จากการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจของโคลอมเบียที่ดำเนินการโดย Kantar พบว่า เศรษฐกิจของโคลอมเบียฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคชาวโคลอมเบียมีการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ โคลอมเบียประสบกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นจากเดือนธันวาคม 2564 โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.62 ในเดือนมกราคม 2565 ราคาสินค้าและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น แต่มิได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค หากแต่ผู้บริโภคพิจารณาซื้อสินค้าในปริมาณที่ลดลง การเติบโตและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโคลอมเบียค่อนข้างมีเสถียรภาพและรวดเร็ว และโคลอมเบียยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงด้านการลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ (ร้อยละ 3.9) ส่งผลให้จำนวนชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น และความสามารถในการจับจ่ายของประชาชนโดยรวมเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทำให้ผู้บริโภคชาวโคลอมเบียมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้จ่ายและการอุปโภคบริโภค โดยสินค้าที่มียอดการจำหน่ายสูงสุดในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2564 ได้แก่ สินค้าเสริมความงาม เครื่องสำอางค์ และผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง สินค้าในหมวดอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ สินค้าเสริมความงาม และเครื่องสำอางค์ ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีทิศทางที่ดีขึ้น ผู้บริโภคชาวโคลอมเบียให้ความสำคัญและใส่ใจต่อคุณภาพของสินค้าเสริมความงามและเครื่องสำอางค์มากขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักของการใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อการบำรุงผิว และรักษาความอ่อนเยาว์ ส่งผลให้ยอดขายสินค้าดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ในส่วนของผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยบำรุงผิวและป้องกันการเกิดสิว (Markne) ถือเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคสตรี เพื่อใช้ในการบำรุงผิวในชีวิตประจำวัน และให้สำคัญเป็นอันดับต้นกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากส่วนผสมของธรรมชาติ โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดสินค้าเสริมความงาม และเครื่องสำอางค์ของโคลอมเบียจะมีการขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 […]

วิกฤติการณ์ขาดแคลน “ชิป” ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศเยอรมนีซบเซาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาห้าเดือนติดต่อกัน ตามรายงานวิจัยตลาดของสถาบัน ifo (Institute for Economic Research) ประจำนครมิวนิก เปิดเผยว่าจำนวนบริษัทในสายการผลิตรถยนต์ของเยอรมันมีจำนวนลดลงในช่วงปีที่มา และคาดว่าจำนวนซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้องจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อวันพุธที่ผ่านมาสถาบัน ifo ได้ออกมาชี้แจงว่าตัวชี้วัด (indicator) สำหรับอุตสาหกรรม    ยานยนต์โดยรวมเปรียบเทียบในเดือนธันวาคม 2564 ลดลงมาอยู่ที่ -1.0 จุด จากเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ +7.9 จุด โดยตัวชี้วัดสภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนธันวาคมได้ลดลงมาอยู่ที่ 15.6 จุด จาก 36.5 จุดในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ นาย Oliver Falck ผู้อำนวยการสถาบันฯ ให้ความเห็นว่าสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงนี้ถูกกระตุ้นโดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เอง มิใช่บริษัทซัพพลายเออร์ เนื่องจากปัญหาชิปขาดแคลนในตลาดส่งผลให้ยอดการจำหน่ายรถยนต์ของเยอรมนีลดลงเป็นประวัติการณ์ จากข้อมูลสถิติการจดทะเบียนรถใหม่ในปี 2564 (2.62 ล้านคัน) ลดลงร้อยละ 10 จากปีก่อนหน้า โดยในเดือนธันวาคมมีรถยนต์ลงทะเบียนใหม่เพียง 228,000 คัน ลดลงร้อยละ 27 ซึ่งถือว่ายังไม่เลวร้ายเท่ากับเดือนพฤศจิกายนที่ลดลงถึงร้อยละ 32 อย่างไรก็ตาม […]