กิจกรรมพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการในภูมิภาคสู่ตลาดต่างประเทศ ในรูปแบบการให้ข้อมูลและคำปรึกษาเชิงลึกโดยเน้นพื้นที่เป้าหมาย

สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับด้านความโดดเด่นด้าน Soft Power ในลำดับต้นของโลกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2566 Brand Finance ซึ่งเป็นผู้จัดทำ Global Soft Power Index 2023 ได้จัดอันดับสหราชอาณาจักรเป็นลำดับที่ 2 ของโลก จากการสำรวจความเห็นจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 100,000 คน ใน 100 ตลาดทั่วโลก  คำจำกัดความของ Soft Power ได้แก่ การใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม คุณค่าทางสังคม เพื่อโน้มน้าวให้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนหรือคล้อยตาม โดย Brand Finance ได้กำหนดหัวข้อที่มีส่วนสำคัญต่อ Soft Power หลัก 3 ด้าน ได้แก่  1) ความคุ้นเคย (Familiarity) คือ แบรนด์ของชาติซึ่งคนทั่วไปรู้จักคุ้นเคย 2) ชื่อเสียง (Reputation) คือ ภาพลักษณ์ด้านบวกของแต่ละชาติ 3) อิทธิพล (Influence) คือ ระดับของความสามารถในการโน้มน้าวในระดับนานาชาติ […]

ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ (Skincare) จัดอยู่ในหมวดสินค้าเครื่องสําอาง มีวัตถุประสงค์ในการใช้ทาหรือลูบไล้บนผิวหนังเพื่อทําความสะอาด ปกป้อง และบํารุงรักษาผิวให้อยู่ในสภาพดี หากใช้รับประทานจะจัดอยู่ในหมวดอาหารเสริม ทั้งสองหมวดไม่จัดอยู่ในหมวดยา เพราะไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงสาธารณสุขอิตาลี  สถาบันวิจัย Fortune Business Insights เผยให้เห็นว่า ในปี 2564 ตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวในอิตาลีมีมูลค่า 1.5 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้น 9.3% ส่วนแบ่งตลาดคิดเป็น 17% ของเครื่องสําอางทั้งหมด (ที่มีมูลค่ารวม 11.8พันล้านยูโร) ส่วนตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวของโลก มีมูลค่า 100 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเกิน 145.8พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2571 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีเฉลี่ยที่ 5.5% ในปี 2564 ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว มีช่องทางจําหน่ายที่หลากหลายเมื่อเทียบกับปี 2563 ดังนี้ 1) ร้านน้ำหอม มียอดขายขยายตัวเพิ่มขึ้น 20% เป็นช่องทางที่มีผู้ชํานาญด้านความงามที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์คอยให้คําปรึกษาและตรวจสภาพผิวพร้อมแนะนําผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม จึงสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการ เช่น ยี่ห้อ Bottega Verde, Yves Rocher, […]

สำนักบริการทางสถิติของกานา (Ghana Statistical Service) รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อล่าสุดว่า อัตราเงินเฟ้อในประเทศกานาเพิ่มขึ้นเป็น 59.19 ในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 ของประเทศกานาและเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2544 ซึ่งมีอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 59.7 ทำให้ประเทศกานากลายเป็นประเทศแอฟริกาชั้นนำที่มีอัตราเงินเอสูงสุดเป็นอันดับ 7 ของโลกจาก 120 ประเทศ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อของประเทศกานาดังกล่าวเป็นผลมาจากค่าอาหาร ค่าขนส่งและค่าที่พักเพิ่มขึ้นมาก รวมทั้ง เหตุปัจจัยอื่นๆ สรุปดังนี้ (1) หมวดที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟฟ้า แก๊ส และเชื้อเพลิงอื่นๆ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 82.34 เมื่อเทียบเป็นรายปี (2) เครื่องตกแต่งและอุปกรณ์ในครัวเรือนมาเป็นอันดับสองที่ร้อยละ 71.52 (3) การขนส่งร้อยละ 71.42 มาเป็นอันดับสาม (4) หมวดค่าบริการดูแลส่วนบุคคล ความคุ้มครองทางสังคม ค่สินค้าและบริการเบ็ดเตล็ด ร้อยละ 60.94 (5) สำหรับอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 59.71 เมื่อเทียบเป็นรายปีอยู่ในอันดับห้า (6) อันดับที่หกคือสินค้านำเข้าอยู่ที่ […]

ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven แห่งแรกเปิดในอิสราเอลแล้ว ในวันนี้ 11 มกราคม 2023 ในกรุง Tel Aviv ห้างสรรพสินค้า Dizengoff Center จะเป็นร้านแรกในอีกหลายสิบร้านที่จะเปิดทั่วประเทศอิสราเอล เพียงหนึ่งปีหลังจาก Electra Consumer Products ประกาศว่ได้ลงนามในข้อตกลงแฟรนไชส์ระยะเวลา 20 ปีกับเครือข่ายร้านสะดวกซื้อระหว่างประเทศในสหรัฐฯ ร้านแรกอยู่ใน Dizengoff Center และภายในกลางปี 2023 จะมี 7-Eleven จะเปิดสาขาเพิ่มอีก 7 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเทลอาวีฟ และใน Hod Hasharon(ฮอด ฮาชารอน) ภายในต้นปี 2024 ร้าน 7-Eleven 30 แห่งมีกำหนดจะเปิดดำเนินการทั่วประเทศอิสราเอล Zvika Shwimmer ซีอีโอของ Electra Consumer Products กล่าวว่า “เราเลือกที่จะดำเนินธุรกิจในภาคอาหารร่วมกับแบรนด์ชั้นนำระดับโลก 2 แบรนด์ ได้แก่ 7-Eleven ในร้านสะดวกซื้อ […]

ประเทศสมาชิกกลุ่มประชาคมแอฟริกาตะวันออก (EAC) กล่าวว่า การประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ-แอฟริกา (United States-Africa Leaders Summit ๒๐๒๒) เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ นั้น เป็นโอกาสในการนำเสนอการลงทุนและการเปิดตลาดให้กับสินค้าด้านเกษตรกรรม สุขภาพ และพลังงาน ซึ่งการลงทุนในสามด้านนี้คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแอฟริกาตะวันออกโดยรวม ในขณะที่เคนยากำลังมองหาการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของตนที่ส่งไปขายยังสหรัฐอเมริกา และยังมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวเข้าสู่ข้อตกลงด้านพลังงานนิวเคลียร์นั้น ประเทศยูกันดาได้แสดงเจตจำนงค์เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยา โดยกล่าวถึงความจำเป็นในการผลิตวัคซีนภายในประเทศ และในงานเดียวกันนี้ ทาง US-Afica Business Center โดยสภาหอการค้าของสหรัฐฯ เป็นผู้นำการอภิปรายแบบโต๊ะกลม (Round table meeting) กับประธานาธิบดีซาเมีย ชูลูฮ ของแทนซาเนีย เพื่อเปิดตัวแนวทางการส่งเสริมการลงทุนในแทนชาเนีย (Tanzania Investment Guide) ฉบับใหม่อย่างเป็นทางการด้วย สหรัฐอเมริกาถือว่า เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดกับเคนยา กล่าวคือ เคนยาส่งออกชาจำนวนมากไปยังสหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดีวิลเลี่ยม รูโต ของเคนยาได้กล่าวว่า เคนยามีความต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสร้างโกดังเก็บซา กาแฟ ดอกไม้ตัดสดจากเคนยา พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาดในสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อแบรนด์ของเคนยา ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว พร้อมทั้งคาดว่าในอีก ๕ ปีข้างหน้านี้ […]

ข้อมูลตัวเลขดุลการค้าจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ที่ได้มีการเผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาระบุว่า ปี 2565 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือเกือบประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้รับแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ความต้องการสินค้าที่ขยายตัวในกลุ่มเครื่องจักรกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์การขาดดุลสินค้าและบริการรวมของปี2565 อยู่ที่ 948,100 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นการขาดดุลการค้าที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังจากวิกฤติการระบาดของ COVID อนึ่ง การระบาดดังกล่าวทําให้การใช้จ่ายในภาคบริการเกิดการชะงักงัน แต่ได้ช่วยกระตุ้นทําให้ภาคการบริโภคและอุปโภคเกิดการขยายตัว ตลอดจนทําให้เกิดความต้องการนําเข้าสินค้าเพิ่มเติมในหลายรายการเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อ ราคาพลังงานและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ล้วนเป็นปัจจัยที่ทําให้ต้นทุนการผลิตมีราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ซึ่งทําให้มูลค่าการนําเข้าสินค้ามีการขยายตัวแปรผันตามนอกจากนี้ สหรัฐฯ พยายามลดบทบาททางการค้ากับจีน โดยการสร้างอุปสรรคทางการค้าต่างๆ เช่น กําแพงภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้า ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ในสหรัฐฯ เริ่มหาแหล่งวัตถุดิบและแหล่งการผลิตทางเลือก ซึ่งตัวเลขการนําเข้าได้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการปรับเปลี่ยนฐานการผลิตของสหรัฐฯ จากทั่วโลก โดยในปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ นําเข้าสินค้าจาก เม็กซิโก แคนาดา อินเดีย เกาหลีใต้เวียดนามและไต้หวันเพิ่มขึ้นอย่างมากรัฐบาลภายใต้การนําของประธานาธิบดี Biden ระบุว่า การที่สหรัฐฯ พึ่งพาการผลิตจากจีนในอุตสาหกรรมการผลิตแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้พยายามโน้มน้าวบริษัทในสหรัฐฯ ด้วยสิ่งจูงใจ ตลอดจนมีบทลงโทษเพื่อทําให้บริษัทเหล่านั้นพิจารณาปรับเปลี่ยนแหล่งห่วงโซ่อุปทานออกจากจีนไปยังที่อื่น ทั้งนี้ […]

ในปี 2565 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลก มีมูลค่ารวมประมาณ 47.32 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 70.80 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2573 โดยอัตราเดิบโตเฉลี่ยในช่วงระหว่าง 2566 ถึง 2573 คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.99 ต่อปี วิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เร่งรีบมากขึ้นในปัจจุบัน กำลังขับเคลื่อนความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่สามารถตรียมและบริโภคได้สะดวกรวดเร็วโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจวัตประจำวันที่เร่งรีบ ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความสะดวกต่อผู้บริโภได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นอกจากนี้ ปัจจัยด้านประชากรชนชั้กลางที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีอุปสงค์การบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมากขึ้นด้วย เหล่านี้จึงเป็นแรงผลักดันให้ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอรสชาติที่แตกต่างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภครวมทั้ง หาช่องทางลดต้นทุนเพื่อให้สมารถผลิตผลิตภัณฑ์มีราคาย่อมเยาขึ้น และมีการนำเสนอคุณประโยชน์ของสารอาหารในมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาของผู้ผลิตนี้คาดว่าจะสามารถกระตุ้นการเติบโตของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลกได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนผสมของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยแป้งสาลีชั้นดีและเกลืออัลคาไลน์ผสมกัน นอกจากนี้ ยังมีการเติมส่วนผสมเพิ่มเติมต่างๆ ลงในแป้ง เช่น น้ำมัน กลูเตน และสารเพิ่มความคงตัว เช่น กัวร์กัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะผ่านการทำให้แห้งไม่ว่าจะเป็นด้วยการทอดหรือการอบ โดยปกติแล้วบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมาในซองขนาดเล็ก ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่องจากพกพาสะดวก เตรียมง่าย และจัดเก็บสะดวก มีหลากหลายรสชาติ รวมถึงตัวเลือกแบบมังสวิรัติ รวมทั้ง ยังมีส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผักอบแห้ง แป้งสาลี เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลอบแห้งที่มักจะมาในซอง/ถ้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์บรรจุบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีทั้งแบบถ้วย/ซาม หรือแบบแพ็คที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ […]

ลิเทียม กำลังจะเวทีประลองกำลังใหม่ของบรรดาผู้ผลิตยานยนต์ที่พยายามจะเอาชนะในตลาดยานยนต์พลังงานไฟฟ้า โดย General Motors (GM) ประกาศว่าจะลงทุน 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกิจการพัฒนาแหล่งแร่ลิเทียม Lithium Americas (LAC) ในรัฐเนวาดา ซึ่งเหมืองแห่งนี้รู้จักกันในนาม Thacker Pass มีแผนจะเริ่มกระบวนการผลิตแร่ลิเทียมประมาณครึ่งหลังของปี 2026 โดยเงินลงทุนของ GM จะถูกแยกเป็น 2 ส่วนและจะขึ้นอยู่กับ LAC ว่าจะทำตามเงื่อนไขได้หรือไม่ ยอดการลงทุนของ Thacker Pass น่าจะพอๆ กับที่ GM จะต้องใช้เพื่อให้บรรลุเป้าในการผลิตยานยนต์พลังไฟฟ้า (EV)จำนวน 1 ล้านคันในพื้นที่อเมริกาภายในกลางทศวรรษนี้ ซึ่งการหาแหล่งผสิตวัตถุดิบและส่วนประกอบในการผลิต EV ที่สำคัญมากๆ จากภายในภูมิภาคอเมริการเหนือเองและประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ทำให้ผู้ผลิต EV มีห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคง ช่วยให้กำหนดราคาได้ง่ายและสร้างงานได้มากด้วย นอกจากความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานแล้ว การหาแหล่งวัตถุดิบและการผลิตภายในภูมิภาคนี้เองยังมีความสำคัญต่อผู้ผลิต EV ในอีกแง่หนึ่งด้วย นั่นคือ เครดิตภาษีในการจัดซื้อ ซึ่งหนึ่งในเงื่อนไขของกฎหมาย Inflation Reduction Act ที่เพิ่งจะผ่านออกมาไม่นานนี้ ก็คือต้องใช้แหล่งและมีการแปรรูปวัตถุดิบภายในภูมิภาคเองข้อกำหนดให้ผลิตภายในท้องถิ่นนับวันจะยิ่งเขม็งเลียวแน่นขึ้น […]

และหันมาซื้อสินค้า Private Lable Brand เพิ่มขึ้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ผู้บริโภคชาวดัตช์มากกว่า 1 ใน 3 ลดการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคลง เนื่องจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และมีความละเอียดอ่อนต่อราคาและข้อเสนอพิเศษหรือการลดราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยผู้บริโภคชาวดัตช์หันมาเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานแบรนด์ราคาประหยัด (Budget Brand หรือ Private Label Brand หรือ House Brand) ที่มีราคาถูกกว่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จากเดิมที่เคยเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์เนมของบริษัทผู้ผลิต (Name – Brand หรือ A – Brand) สินค้าอุปโภคบริโภคและค่าใช้จ่ายประจำต่างๆ ที่มีเพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าสตางค์ของผู้บริโภคชาวดัตช์อย่างเห็นได้ชัด Motivaction ได้ทำการสำรวจและวิจัยออนไลน์ในกลุ่มผู้บริโภคชาวดัตช์พบว่า 4 ใน 5 ของผู้บริโภคชาวดัตช์ต้องประหยัดและระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น และ 1 ใน 3 ของผู้บริโภคชาวดัตช์จะต้องประหยัด รัดเข็มขัด และระมัดระวังในการใช้จ่ายอย่างจริงจัง รวมทั้งต้องจัดลำดับความสำคัญและตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงเพื่อที่จะสามารถบริการจัดการรายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละเดือน 1 ใน 4 ของผู้บริโภคชาวดัตช์เลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์เนมของบริษัทผู้ผลิต (Name – Brand หรือ […]