สพต.2 หรือ OMD2 ภายใต้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ขอเชิญชวนเข้าร่วมสัมมนาการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการในภูมิภาค ภายใต้แนวคิด “เปิดประตูสู่โอกาสการค้าไทยในตลาดโลก” (The Keys to Connext) ในโครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ส่งออกไทยด้วยข้อมูลการค้าตลาดภูมิภาคอเมริกา ลาตินอเมริกา ยุโรป และ CIS แอฟริกา และตะวันออกกลาง โดยการสัมมนาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ถ่ายทอดผ่านระบบโปรแกรมผ่านระบบ ZOOM Application โดยครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2566 และครั้งที่ 2 วันที่ 7 – 8 มิถุนายน 2566 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โครงการดังกล่าวเป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ส่งออกไทยในการค้าระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทย และผลักดันการขยายการค้าและการลงทุนของไทย ดำเนินการโดยสำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2 (OMD 2) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาศักยภาพการค้าไทยในตลาดโลก โดยปีนี้ มีเป้าหมายคือการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในภูมิภาคหรือรายใหม่ ให้ใช้ข้อมูลการค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้ผู้ประกอบการได้ใช้ข้อมูลการค้าสำหรับการเจาะตลาดการค้า หรือวางแผนการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ […]
ภาพรวมตลาดค้าปลีกเวียดนาม คาดการณ์มูลค่าตลาดค้าปลีกเวียดนาม ปี 2564 – 2569 จะมีมูลค่า 82.70 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) อยู่ที่ 10.13% ต่อปี จากสถานการณ์ตลาดค้าปลีกเวียดนามหลังโควิด-19 ยอดค้าปลีก ในเวียดนามเติบโตเพิ่มขึ้น 50.2% จากเดือนสิงหาคม ปี2564 ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มขึ้นที่ เร็วกว่า ในเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้น 42.6% จากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ทั้งยังพบว่าผู้บริโภคเวียดนามในเขตเมือง ปรับเปลี่ยนมาซื้อหาสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้นเนื่องจากสามารถซื้อสินค้าจำนวนน้อยได้บ่อยครั้ง และซูเปอร์มาร์เก็ตยังจําหน่ายสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและของใช้ในครัวเรือน ทำให้ลูกค้าซื้อของได้ง่ายขึ้น ในเวียดนาม ธุรกิจห้างค้าปลีกสมัยใหม่มีการลงทุนจากบริษัท Central Retail เข้ามาเป็นที่เรียบร้อย โดยได้เริ่มลงทุนธุรกิจค้าปลีกในปี 2558 และซื้อกิจการ Big C เวียดนามในปี 2559 และนำแบรนด์ TopsMarket จากไทยมาทําตลาดที่เวียดนามเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีศูนย์การค้า VINCOM ที่ดำเนินการโดยบริษัท Vincom Retail Vietnam ในเครือบริษัท Masan […]
จีนเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน ด้วยการสร้างเขตนำเข้า ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษให้การสนับสนุนและกำกับดูแลการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบการจัดการและกฎเกณฑ์ที่ปรับให้เข้ากับการค้าในยุคปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการค้าข้ามชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันมีเขตนำเข้าทั้งหมด 165 แห่ง ที่รวมอยู่ใน 31 มณฑลของจีน และเป็นการอนุมัติจัดตั้งครั้งที่ 7 ของรัฐบาลจีน โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบการค้าและธุรกิจออนไลน์ข้ามชาติในสมัยปัจจุบันและอนาคต โดยการค้าออนไลน์ของจีนในรูปแบบอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนมีการเติบโต อย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าออนไลน์ไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ รองเท้า กระเป๋า สิ่งทอ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน การนําเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนมาจากต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ เป็นเครื่องสําอาง อุปกรณ์ของใช้ในการทำความสะอาด ยา อาหารเสริม สินค้าแม่และเด็ก อาหารและอาหารสด สินค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของจีนที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศ ส่วนใหญ่ เป็นสินค้าที่มาจากมณฑลกวางตุ้ง เจ้อเจียง ฝูเจี้ยน และเจียงซูคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 80 ส่วนการนําเข้าสินค้าส่วนใหญ่จะส่งไปยังผู้บริโภคในมณฑลเมืองใหญ่ของจีนเป็นหลัก เช่น มณฑลกวางตุ้ง เจียงซู เจ้อเจียง เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง เป็นต้น ในปี 2565 มูลค่าการซื้อขายด้วยรูปแบบอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของประเทศจีนมีมูลค่าประมาณ 20,500,000 ล้านหยวน (เป็นเพียงตัวเลขคาดการณ์เนื่องจากยังไม่มีการอัปเดตตัวเลขการซื้อขายทั้งปี […]
อินโดนีเซีย นับเป็นผู้ผลิตโกโก้รายใหญ่ของโลก แต่การส่งออกเมล็ดโกโก้ลดลงเนื่องจากความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้น และเกษตรกรไม่สามารถเพิ่มผลผลิต ได้อย่างเพียงพอ ผู้แปรรูปโกโก้จึงต้องจัดหาเมล็ดโกโก้จากต่างประเทศ เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ขั้นกลาง เช่น เนยโกโก้และผงโกโก้ ซึ่งตลาดช็อกโกแลตในอินโดนีเซียมีผู้ผลิตท้องถิ่นรายใหญ่สองรายคือ Petra Food และ Mayora Indonesia โดยมีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันเกือบ 80% และผู้ผลิตช็อกโกแลตข้ามชาติที่มีตลาดในอินโดนีเซีย ได้แก่ Mondelēz International, Mars, Ferrero, Nestlé, Lindt และ Hershey ซึ่งหาซื้อได้ง่ายและราคา ที่เอื้อมถึงเป็นข้อได้เปรียบของแบรนด์ท้องถิ่น ช่องทางการจําหน่ายผ่านผู้ค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต ยังคงเป็นช่องทางสำคัญในการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตนําเข้า กลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ Transmart Carrefour, Giant, Hypermart และ Lotte Mart ขณะที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ Ranch Market, Food Hall, Hero และ Super Indo นอกจากนี้ยังมีการจำหน่าย ผ่านร้านสะดวกซื้อ […]
สถานการณ์ตลาดเครื่องแต่งกายในญี่ปุ่นภายหลังโควิด มีงานวิจัยคำนวณมูลค่าการขายปลีกของเครื่องแต่งกายและเสื้อผ้าในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเครื่องแต่งกาย เช่น เครื่องแต่งกายทั่วไป เครื่องแต่งกายบุรุษ เครื่องแต่งกายสตรี และเครื่องแต่งกายสำหรับทารกและเด็ก ไม่รวมการจำหน่ายที่ร้านไซเคิลและร้านเสื้อผ้ามือสอง โดยขนาดของตลาดค้าปลีกเครื่องแต่งกายในประเทศ ซึ่งรวมถึงเสื้อผ้าบุรุษ เสื้อผ้าสตรีและเสื้อผ้าสำหรับทารกและเด็ก มีมูลค่าถึง 7,610.5 พันล้านเยน ในส่วนของห้างสรรพสินค้าและร้านค้าเฉพาะมีแนวโน้มฟื้นตัว ส่วน E-commerce ยังคงได้รับความนิยมหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ต่อมาในเรื่องของสถานะและการเปลี่ยนแปลงของตลาดสินค้าอัญมณีในญี่ปุ่นภายหลังโควิด ซึ่งแรงสะท้อนกลับ ของการใช้จ่ายภายหลังโควิดช่วยทำให้ยอดการจำหน่ายของอัญมณี ขยายตัวขึ้นเป็น 9.6 แสนล้านเยน และสินค้าแหวนแต่งงานและแหวนหมั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อได้หันจากการลงทุนในงานแต่งมาสำหรับแหวนมากขึ้น ต่อมาราคาเฉลี่ยของแหวนแต่งงานเพิ่มขึ้นจากวงละ 2.5แสนเยนใน เป็น 2.7 แสนเยน และคาดการว่าในปี 2023 ตลาดจะยิ่งขยายตัวขึ้นไปเป็นประมาณ 1.54 ล้านล้านเยน กลุ่มผู้มีรายได้สูง มีความต้องการอยากกลับมาใช้จ่ายหลังกักตัวมานาน นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังสนับสนุนแฟชั่นที่ยั่งยืนตามหลัก SDGs เช่น การส่งเสริมสินค้ารีไซเคิล และการใช้ของมือสอง เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการไทยมีข้อสงสัยหรือข้อซักถาม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา รวมทั้งสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการค้าได้ที่ https://ditip-overseas.com สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโอซากา
กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงและมีวัฒนธรรมการบริโภคที่แพร่หลาย ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วของร้านกาแฟทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียที่กาแฟได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม โดยมีร้าน Kopitiam เป็นร้านที่มีสไตล์การบริโภคกาแฟแบบดั้งเดิมของประเทศ แต่ในปัจจุบัน การบริโภคกาแฟเปลี่ยนเป็นร้านกาแฟพร้อมดื่มและ มีการบริการแบบเร็วทันใจ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป และช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคต้องใช้ชีวิตและทำงานที่บ้าน ส่งผลให้ การบริโภคกาแฟสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น ตลาดกาแฟในมาเลเซียมีการแข่งขันสูงและเติบโตพร้อมกับจำนวนคนรักกาแฟ ในหมู่ชาวมาเลเซีย ผู้ประกอบการจึงต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น การสร้างแบรนด์ออร์แกนิคหรือสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพและเทคนิคการแปรรูปกาแฟ เป็นต้น ช่องทางการจัดจำหน่ายของกาแฟในมาเลเซีย สินค้ากาแฟส่วนใหญ่จัดจำหน่าย ผ่านห้างค้าปลีกสมัยใหม่ โดยแบ่งเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และแบบออนไลน์โดยมีร้านค้าออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada, Tesco Online, Jaya Grocer Online และ Hero Market Online โดยกาแฟสำเร็จรูปและกาแฟพร้อมดื่ม (RTD coffee) มีจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไปและร้านสะดวกซื้อ ส่วนกาแฟสดมีจำหน่ายในร้านกาแฟชื่อดังและร้านสะดวกซื้อบางแห่ง สำหรับช่องทาง E-commerce เป็นช่องทางหลักในการสั่งซื้อสินค้าในช่วงการแพร่ระบาด ของโควิด-19 และมีการเพิ่มปริมาณการจัดจำหน่ายสินค้าบริโภคผ่านช่องทางนี้เพิ่มขึ้น มาเลเซียมีข้อกำหนดในการนำเข้ากาแฟ เพื่อป้องกันการนำโรคต่างถิ่นเข้าสู่ประเทศ ข้อกำหนดประกอบด้วยการคัดเกรด การบรรจุภัณฑ์ และการติดฉลาก หรือที่เรียกว่า […]
สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้ารถยนต์ในเอเชียแม้ไม่มีการผลิตรถยนต์ในประเทศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการค้าสำหรับประเทศที่ผลิตรถยนต์ในเอเชีย โดยสิ่งที่ทำให้สิงคโปร์ มีความสำคัญเป็นอย่างมากในตลาดโลกคือการมีบริษัทยานยนต์ชั้นนำจากทั่วโลกที่เข้ามาลงทุนจัดตั้งสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ เพื่อจัดหาชิ้นส่วน/อะไหล่ยานยนต์ ค้นคว้าวิจัยและผลิตสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และใช้สิงคโปร์เป็นฐานการส่งออกชิ้นส่วน/อะไหล่ยานยนต์ให้แก่ลูกค้า ในภูมิภาค โดยมีพื้นฐานอุตสาหกรรมที่แข็งแรงในด้านอิเล็กทรอนิกส์ การโทรคมนาคมสารสนเทศ และวิศวกรรมเครื่องกลที่ช่วยส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น และทำให้มีบริษัทมากกว่า 800 รายเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าด้านวิศวกรรมยานยนต์ในสิงคโปร์ ธุรกิจยานยนต์ในสิงคโปร์ ประชาชนในสิงคโปร์ได้รับการส่งเสริมให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนน จำนวนรถยนต์บนท้องถนนของสิงคโปร์ มีจำนวนมากเกือบ 1 ล้านคัน และมากกว่า 600,000 คันเป็นรถยนต์ส่วนตัวและรถเช่าสิงคโปร์ไม่มีการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ แต่มีการเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) โดยอัตราคิดเป็น 8-9% ในปี 2565 สิงคโปร์นำเข้าสินค้าชิ้นส่วน และอะไหล่ยานยนต์มูลค่ารวม 23.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบัน แนวโน้มตลาดอุตสาหกรรมยานยนต์ในสิงคโปร์จะเน้นเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ ที่ใช้ในระบบรถยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ พฤติกรรมการนำเข้าของนักธุรกิจสิงคโปร์มักเปรียบเทียบคุณภาพและราคาจากแหล่งผลิต แต่ละแห่งก่อนตัดสินใจนำเข้า รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการไทยมีข้อสงสัยหรือข้อซักถาม สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ รวมทั้งสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการค้าได้ที่ https://ditip-overseas.com สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์
ตลาดอาหารจานด่วนในฝรั่งเศสกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ด้วยผู้คนมีการใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมที่มากขึ้น ทำให้มีเวลาว่างน้อยลง จึงมีความต้องการในการรับประทานอาหารสำเร็จรูปอย่างรวดเร็วและสะดวกมากขึ้น โดยช่วงวัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อายุระหว่าง 15 – 30 ปี ในช่วงต้นปี 2023 ผลประกอบการร้านอาหารจานด่วน ในฝรั่งเศส คิดเป็นมูลค่า 23,400 ล้านยูโร เพิ่มขึ้น 19 % จากปี 2019 ปัจจุบันมีร้านอาหารจานด่วนทั่วฝรั่งเศสกว่า 51,500 แห่งเพิ่มเป็น 4 เท่าจากเมื่อยี่สิบปีก่อนหน้า ผลจากการสำรวจ ระหว่างงานแสดงสินค้า Sandwich & Snack Show and Parizza ที่จัดขึ้นในกรุงปารีสช่วงระหว่างวันที่ 12-13 เมษายนที่ผ่านมา พบว่า เมนูอาหารยอดนิยม สามอันดับแรกสำหรับผู้บริโภคฝรั่งเศสในทุกช่วงอายุได้แก่ พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์และเคบับ ซึ่งการเติบโตของร้านอาหารจานด่วนนี้มีสาเหตุมา จากสองปัจจัยได้แก่ การพัฒนาระบบส่งอาหารช่วงระหว่างสถานการณ์โควิด ส่งผลต่อเนื่องให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้าน และอีกเหตุผลคือราคาอาหารจากร้านจานด่วนส่วนใหญ่มีราคาถูกกว่าร้านอาหารแบบดั้งเดิม เหมาะสำหรับเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคในช่วงภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ อาหารท้องถิ่นบางประเภทก็ได้รับความนิยมเช่นกันอันเนื่องจาก มีภาพลักษณ์ของเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น เมนูอาหาร โปเกโบล […]
แม้ว่าสถานการณ์เงินเฟ้อสหรัฐฯ จะลดลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ผู้บริโภคยังคง มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เงินเฟ้อ โดยจากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค 2,200 คน ในปี 2566 โดยบริษัทวิเคราะห์และวิจัยด้านธุรกิจ Morning Consult พบว่า ผู้บริโภคกว่า ร้อยละ 87 ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อโดยเฉพาะสำหรับ การซื้อสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม โดยสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ และสินค้าจากนมมีความกังวลสูงสุด รองลงมา ได้แก่ อาหารแห้ง เครื่องดื่ม เครื่องปรุง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจพบว่าชาวอเมริกันใช้จ่ายสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยครัวเรือนที่มีรายได้สูงกว่ามีแนวโน้มแบกรับภาระราคาสินค้าได้มากกว่า ในขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตน ทั้งนี้พบว่าผู้บริโภคกว่าส่วนใหญ่ เลือกที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคบางประการ เนื่องจากสภาวะเงินเฟ้อสูง อาทิ การลดการรับประทานอาหารนอกบ้าน การเลือกซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภค (grocery) โดยใส่ใจต่อราคาและเปรียบเทียบราคาของสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อมากขึ้น และเลือกที่จะซื้อสินค้า private brand ของซูเปอร์มาร์เก็ตมากกว่าสินค้าแบรนด์มีชื่อเสียงที่เคยซื้อ นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวอเมริกันยังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเลือกที่จะลดจำนวนครั้งในการไปซุปเปอร์มาร์เก็ตเพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น และลดจำนวนครั้ง ในการเดินทางให้น้อยลงยังสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ และยังผลักดันเทรนด์การสั่งซื้อ grocery online ให้ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในหมู่ผู้บริโภค ในกลุ่ม Gen […]
ตลาดอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กในสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูง และเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยภายหลังจากช่วงหลังการระบาดของโควิด-19 ภาพรวมอุตสาหกรรมสินค้าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กมีการเปลี่ยนแปลงไปแต่ตลาดยังมี การเติบโตอย่างรวดเร็ว ภาคอุตสาหกรรมมีการเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มีมูลค่าประมาณ 3.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านเหรียญ และคาดว่าภายในปี 2573 ตลาดอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 2.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ แนวโน้มตลาดที่สำคัญคือการที่ผู้ปกครองหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ มีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุดสำหรับเด็ก อีกทั้งวิถีชีวิตของพ่อแม่ ที่ทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาทำอาหารเอง พ่อแม่กลุ่มนี้จึงมีความต้องการอาหารที่สะดวก และพร้อมในการรับประทาน และกระแสความนิยมของอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพ นำไปสู่ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารว่างที่เป็นออร์แกนิก ส่งผลให้อุตสาหกรรมสินค้าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กจะมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ของว่างเพื่อสุขภาพ น้ำผลไม้และสมูทตี้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ หรืออาหารเช้าที่บรรจุในชามพร้อมรับประทาน เป็นต้น ตลาดสินค้าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กในสหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพทั้งในแง่ของมูลค่าและปริมาณ ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มีโอกาสเติบโตอย่างมากในอนาคต ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายต่างคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้ตรงกับความต้องการและเทรนด์การบริโภค แนวโน้มความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภค เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและใช้เป็นแนวทางพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็กของไทย ยังมีช่องทางในการเติบโตในในตลาดได้ ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยติดตามเทรนด์ตลาดและนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้สามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ และเพิ่มยอดขาย พร้อมกับเป็นการเปิดประตูการค้าไทยในตลาดโลก หากผู้ประกอบการไทยมีข้อสงสัย หรือข้อซักถาม […]