Greenpeace พยายามผลักดันให้มีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์และนม เนื่องจากการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเป็นการสนับสนุนให้การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยเสนอนโยบายให้รัฐบาลกลางปรับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเป็นร้อยละ 19 ซึ่งจากเดิมคิดภาษีร้อยละ 7 รวมทั้งให้ปรับลดภาษีสำหรับผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำมาจากพืช เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์จากพืช ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนาย Matthias Lambrecht ผู้เชี่ยวชาญของ Greenpeace กล่าวว่า การบริโภคการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมในเยอรมนีทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศประมาณ 6,000 ล้านยูโรต่อปี แต่ราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ได้สะท้อนราคาต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่แท้จริง

นาย Cem Özdemir รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหารและเกษตรของรัฐบาลกลาง ได้กล่าวสนับสนุนนโยบายดังกล่าว และให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมให้ไม่มีราคาขยะหรือต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งสนับสนุนให้ชาวเยอรมันบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยการเสนอนโยบาย ดังนี้
1)  ลดการทำฟาร์มเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการสนับสนุนให้มีการเพิ่มการทำเกษตรอินทรีย์เป็น 30% ภายในปี ค.ศ. 2030
2)  ลดการทำฟาร์มเกษตรหรือปศุสัตว์ในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของสัตว์ ลดการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์สัตว์ และลดการทำลายสิ่งแวดล้อม
3)  การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงด้านสิ่งแวดล้อม
4)  การกำหนดมาตรฐานใหม่ในการควบคุมน้ำตาลและเกลือในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป

นอกจากนี้ นาย Klaus Mülller คณะกรรมการสมาคมกลางผู้บริโภคแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Verbraucherzentrale Bundesverband) ก็ได้กล่าวสนับสนุนนโยบายการลดภาษีผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหารจากที่ทำมาจากพืช และขึ้นภาษีผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และนม เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ทำมาจากพืชเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวยังคงได้รับการวิจารณ์จากพรรคฝ่ายค้าน และนักวิจารณ์เกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมและการขึ้นราคาของสินค้าที่มากเกินไปของผู้ผลิต เนื่องจากเนื้อสัตว์และนมยังคงเป็นอาหารหลักของผู้บริโภคในประเทศเยอรมนี ถึงแม้แนวโน้มการบริโภคอาหารมังสวิรัติในเยอรมนีจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  รายละเอียดดังนี้

ตารางที่ 1: จำนวนผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติในประเทศเยอรมนีตั้งแต่ปี 2014 – 2021

ตารางที่  2: อัตราการบริโภคผลิตภัณฑ์นมต่อประชากร 1 คน ในปี 2020 ประเทศเยอรมนี

ตารางที่ 3: อัตราการบริโภคเนื้อสัตว์ต่อประชากร 1 คน ในปี 2020 ประเทศเยอรมนี

1)  นาย Urlich Schneider กรรมการสมาคมสนับสนุนความเท่าเทียมในสังคม (Paritätischer Wohlfahrtsverband) ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอาหารให้สูงขึ้นควบคู่กับการเพิ่มอัตราภาษีและราคาอาหารสูงขึ้น และควรระวังเกี่ยวกับผลกระทบด้านความเลื่อมล้ำทางสังคมจากการขึ้นราคาเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมด้วย รวมทั้งมีนโยบายสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยเพื่อให้สามารถแข่งขันราคากับผู้ผลิตรายใหญ่ได้     

2)  นาย Steffen Bilger สมาชิกพรรคฝ่ายค้าน (CDU) ได้กล่าวสนับสนุนนโยบายของนาย Cem Özdemir รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหารและเกษตรเกี่ยวกับการกำหนดมาตราฐานใหม่ของผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารสำเร็จรูป แต่นโยบายอื่นๆ ควรจะต้องมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากประชาชนไม่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ได้ทุกคน รวมทั้งต้องระวังการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศที่มีต้นทุนการผลิตและราคาถูกกว่ามาก

ที่มาข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต (มกราคม 2565)
Tagesschau

_____________________________________________
Website : http://ditp-overseas.com
Facebook: https://www.facebook.com/ditpoverseas
Youtube : https://bit.ly/36fT76e

#DITP #OMD2 #สพต2