ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ (Skincare) จัดอยู่ในหมวดสินค้าเครื่องสําอาง มีวัตถุประสงค์ในการใช้ทาหรือลูบไล้บนผิวหนังเพื่อทําความสะอาด ปกป้อง และบํารุงรักษาผิวให้อยู่ในสภาพดี

หากใช้รับประทานจะจัดอยู่ในหมวดอาหารเสริม ทั้งสองหมวดไม่จัดอยู่ในหมวดยา เพราะไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงสาธารณสุขอิตาลี  สถาบันวิจัย Fortune Business Insights เผยให้เห็นว่า ในปี 2564 ตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวในอิตาลีมีมูลค่า 1.5 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้น 9.3% ส่วนแบ่งตลาดคิดเป็น 17% ของเครื่องสําอางทั้งหมด (ที่มีมูลค่ารวม 11.8พันล้านยูโร) ส่วนตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวของโลก มีมูลค่า 100 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเกิน 145.8พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2571 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีเฉลี่ยที่ 5.5%

ในปี 2564 ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว มีช่องทางจําหน่ายที่หลากหลายเมื่อเทียบกับปี 2563 ดังนี้

1) ร้านน้ำหอม มียอดขายขยายตัวเพิ่มขึ้น 20% เป็นช่องทางที่มีผู้ชํานาญด้านความงามที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์คอยให้คําปรึกษาและตรวจสภาพผิวพร้อมแนะนําผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม จึงสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการ เช่น ยี่ห้อ Bottega Verde, Yves Rocher, Vichy,Biotherm, CeraVe, Filorga

2) ร้านขายยาทั่วไปและประเภทผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยอดขายเพิ่มขึ้น 4.6% เป็นช่องทางที่มีเภสัชกรคอยให้คําแนะนําแก่ผู้ที่ชื่นชอบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติเช่น ยี่ห้อ Miamo และ Byotea ที่ปราศจากส่วนผสมจากสัตว์ปราศจากกลูเตน พาราฟิน น้ํามันเบนซิน ผ่านการทดสอบนิกเกิล เป็น GMOs และปราศจากสารลดแรงตึงผิว Sls และ Sles สําหรับผิวที่ต้องการการบํารุงอย่างล้ําลึกเพื่อป้องกันริ้วรอยแห่งวัย

3) ช่องทางอื่นๆ ได้แก่ ไฮเปอร์/ซุปเปอร์มาร์เก็ต เน้นจําหน่ายสินค้าทั่วไป ไม่เจาะจงสรรพคุณเฉพาะ ราคาไม่สูง เช่น ยี่ห้อ L’Oréal, Nivea, Clarins, Eucerin, Venus รวมถึงยี่ห้อที่ติดฉลากของไฮเปอร์/ซุปเปอร์มาร์เก็ต

4) ช่องทางออนไลน์ ที่กําลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย เป็นช่องทางสําหรับผลิตภัณฑ์ยี่ห้อดัง ที่เป็นที่รู้จักและยอมรับแล้ว แต่ไม่ใช่สําหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือยี่ห้อที่ยังไม่เป็นที่รู้จักดี

แนวโน้มการดูแลผิวในปี 2565 สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อสองปีที่ผ่านมา ที่ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อสุขภาพกายและอารมณ์เท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงถึงความใส่ใจที่มีต่อผิวพรรณเพิ่มขึ้น การดูแลผิวพรรณกลายเป็นกิจวัตรด้านความงามที่สําคัญที่สุดสําหรับทั้งชายและหญิง มีการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อทําความสะอาด บํารุง และให้ความชุ่มชื้นเป็นประจําทุกวัน การดูแลความงามในช่วงดังกล่าวมี

อิทธิพลต่อการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มในการใช้วัตถุดิบธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีกระแสการดูแลปัญหาสุขภาพผิวเป็นตัวสนับสนุน เช่น สิว สําหรับ

คนอายุน้อย หรือจุดด่างดําและรอยแผลเป็นที่ทําให้สนใจผลิตภัณฑ์มาสก์หน้าและขัดผิว ครีมกันแดด ครีมแก้ไขสภาพผิว ครีมทาริมฝีปากและครีมทามือสําหรับป้องกันผิวแห้งและหยาบกระด้าง รวมถึงผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมของผู้ชาย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีแนวโน้มตลาดดี มีหลายรูปแบบ ได้แก่ ของเหลว ครีม โลชั่น โฟม เจล ผง มาสก์และสครับ เรียงลําดับขั้นตอนการใช้ดูแลผิว ดังนี้

1) ผลิตภัณฑ์เมคอัพรีมูฟเวอร์และครีมล้างหน้า (Make-up removers/Cleanser) ขยายตัวเพิ่มขึ้น

10.1% ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ครีมหรือน้ํายาทําความสะอาดไมเซลลาร์(Micellar) ใช้เช็ดเครื่องสําอางออกสําหรับคนแต่งหน้า ก่อนล้างหน้าด้วยเจล มูส หรือโฟมทําความสะอาดหน้า เพื่อขจัดสิ่งสกปรกทั้งหมด

2) ครีมลดริ้วรอย (Serum/Anti-wrinkle creams/Toner/Sunscreen) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 9% ได้แก่ เซรั่มซึมซาบเร็ว บํารุงผิวอย่างล้ําลึก ครีมทาหน้า มีทั้งครีมกลางวันและกลางคืน สําหรับดูแลผิวประจําวัน และโทนเนอร์ที่ช่วยปรับสมดุลของผิว เหมาะกับผิวที่เป็นสิวง่าย ส่วนครีมกันแดด ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มี SPF และ PA ตามความเหมาะสม รังสี UV จากแสงแดดทําให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง

3) ครีมบํารุงและลดรอยคล้ํารอบดวงตา(Eye contour products)ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15.4% โรลออนหรือครีมบํารุงรอบดวงตา เพื่อเหนี่ยวรั้งสภาพผิวรอบดวงตาไม่ให้หย่อนยาน ช่วยป้องกันริ้วรอยและลดการสูญเสียคอลลาเจนได้

4) ครีมสําหรับเสริมความบริสุทธิ์ผิว (Treatment Lotion) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14.2% เพื่อซ่อมแซมและบํารุงผิว ช่วยเตรียมให้ผิวชุ่มชื้นพร้อมรับการบํารุงขั้นต่อไป และช่วยบํารุงผิวเป็นขั้นตอนแรก

5) ครีมเพิ่มความกระจ่างใสให้ผิว(Moisturizer)ขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.9% เพื่อรักษาระดับความชุ่มชื้นในผิว

6) มาสก์หน้าและผลิตภัณฑ์ขัดผิว (Face masks/scrub) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.2% การมาสก์หน้าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผิวประจําวัน แต่นิยมใช้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อขจัดสิ่งตกค้างบนผิวตลาดเครื่องสําอางเป็นตลาดที่มีการแข่งขันระหว่างบริษัทข้ามชาติของยี่ห้อชั้นนําสูง เช่น L’Oréal, Shiseido,Unilever, Procter & Gamble, Estée Lauder, Beiersdorf เป็นต้น ขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อย ก็พยายามเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆให้แข่งขันได้เสมอ โดยเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณเฉพาะ ส่วนผสมจากธรรมชาติ/ออร์แกนิก ปราศจากสารเคมี เช่น พาราเบนหรือสารเติมแต่ง ที่ทําให้เกิดความระคายเคืองสําหรับคนแพ้ง่ายอย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์แผนกเครื่องสําอาง เป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง ที่ต้องอาศัยการวิจัยและนวัตกรรมที่ไม่หยุดนิ่ง ในอิตาลี บริษัทเครื่องสําอางใช้เงินลงทุนในการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีประมาณ 6% ของมูลค่าการค้า ในขณะที่ ค่าเฉลี่ยการลงทุนของอุตสาหกรรมอื่นๆอยู่ที่ประมาณ 3% ของมูลค่าการค้า เครื่องสําอางจากธรรมชาติและออร์แกนิกกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอย (Antiaging) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด

ความคิดเห็นของ สคต.มิลาน

ผู้บริโภคชาวยุโรปให้ความสําคัญกับผลิตภัณฑ์เสริมความงามว่าเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความ มั่นใจเมื่อสุขภาพผิวพรรณภายนอกดูเปล่งปลั่ง และไม่ลังเลในการใช้จ่ายเพื่อผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง แม้ราคาจะแพงก็ตาม ตลาดผลิตภัณฑ์จึงมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงกับปัจจัยด้านการบํารุงและป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง และตระหนักถึงความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมเสมอทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจส่งออกผลิตภัณฑ์เสริมความงามมายังอิตาลี/ยุโรป ควรศึกษามาตรฐานตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป นวัตกรรมต่างๆ และแนวโน้มส่วนผสมคุณภาพสูงที่เป็นที่ต้องการของตลาดโดยเฉพาะวัตถุดิบจากธรรมชาติแปลกใหม่ และที่เป็นออร์แกนิก และหาทางร่วมมือกับบริษัทข้ามชาติที่มีศักยภาพในการผลิตและกระจายสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั้งในเรื่องของการจัดหาวัตถุดิบและการรับผลิต

นอกจากนี้ การได้มีโอกาสเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เพื่อเป็นการศึกษาแนวโน้มและโอกาสในการพบผู้นําเข้า/ผู้ซื้อ ก็ถือเป็นอีกช่องทางสําคัญในการขยายตลาดมายังอิตาลี/ยุโรปได้โดยในทุกๆ ปีช่วงเดือนมีนาคมอิตาลีจะมีการจัดงาน Cosmoprof ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าในอุตสาหกรรมความงามชั้นนําในระดับโลกที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์เสริมความงามทุกประเภท ทั้งเครื่องสําอาง น้ําหอม สินค้าสปา บรรจุภัณฑ์ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้มืออาชีพอย่างครบวงจร โดยในปี 2566 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 มีนาคม 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้า Bologna Fiera เมืองโบโลญญา ถือเป็นอีกหนึ่งงานที่รวบรวมผู้ซื้อจากทั่วโลกมากที่สุด

ที่มา: https://www.ilsole24ore.com/art/lo-skincare-e-nuova-frontiera-AE0SqoBC

สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

4 มกราคม 2566