ปัจจุบัน ผู้บริโภคในทวีปยุโรปจำนวนมากหันมารับประทานอาหารที่ทาจากพืช (Plant-based Food) แม้ว่าจะไม่ได้บริโภคมังสวิรัติเนื่องด้วยความเชื่อทางศาสนา แต่เนื่องด้วยปัจจัยด้านสุขภาพ และความ ตระหนักต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความนิยมบริโภคอาหารจากพืชนี้ ยังส่งผลต่ออุปสงค์ที่สูงขึ้นของวัตถุดิบสำคัญ เช่น ถั่ว และโปรตีนเกษตร แต่ด้วยวิกฤตโลกร้อน ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดเก็บเกี่ยวได้น้อยลง ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น

อาหาร Plant-based ที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น และมีอัตราการขยายตัวของยอดขายสูงขึ้นทั่วโลก เช่น เนื้อสัตว์จากพืช (Plant-Based Meats) และนมจากพืช (Plant-Based Milks) ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ ทำให้ผู้ผลิตอาหารและบริษัท FMCG (ผู้ผลิตสินค้า อุปโภคบริโภค/Fast-Moving Consumer Goods) ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ หันมาจับตลาดเฉพาะทางนี้มากขึ้น เช่น Nestlé, PepsiCo, Unilever, CPF เป็นต้น

ข้อมูลจาก Nielsen และ ProVeg International จาก ประเทศในทวีปยุโรป 11 ประเทศ (ในจำนวนนี้มีโรมาเนีย ประกอบด้วย) รายงานว่า ในช่วงปี 2562-2564 การบริโภค อาหารจากพืชเติบโตสูงถึง 49% โดยมียอดขายรวมกว่า 3.6 พันล้านยูโร  (ประมาณ  1.39 แสนล้านบาท)  ในจำนวนนี้ สินค้านมจากพืชมียอดขายสูงสุด ตามด้วยเนื้อจากพืช ตลาดที่ ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป คือ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี

สคต. บูดาเปสต์ จึงนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากนม จากพืช ที่เป็นที่นิยมในตลาดยุโรป ได้แก่ นม ชีส โยเกิร์ต และเนย เพื่อให้เห็นความเป็นไปได้และโอกาสทางตลาด

นมจากพืช
ปัจจุบัน นมจากพืชทำมาจากพืชได้หลากหลายชนิดมากขึ้น เช่น อัลมอนด์ ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวโพด และ มะพร้าว โดยผู้ผลิตมีการแต่งกลิ่นและสีให้น่ารับประทานมากขึ้น เช่น เสริมรสช็อกโกแลตหรือกลิ่นวานิลลา และมีรูปแบบผลิตภัณฑ์สำหรับความต้องการพิเศษ เช่น สูตรออร์แกนิก สูตรเสริมแร่ธาตุที่จำเป็น เช่น วิตามิน แคลเซียม เป็นต้น ทั้งนี้ นมจากพืชแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น นมจากข้าวหรือข้าวโอ๊ต จะมี คาร์โบไฮเดรตสูงกว่านมจากมะพร้าวและถั่วอื่นๆ  ในขณะที่นมถั่วเหลืองจะมีปริมาณโปรตีนสูง เป็นต้น

ชีสจากพืช
ผู้บริโภคชาวตะวันตกใช้ชีสเป็นส่วนประกอบอาหารทั้งคาว และหวาน ชีสที่ทำจากพืชแตกต่างจากชีสจากนมวัว/ควาย/ แพะ/ม้า ฯลฯ เนื่องจากมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง ทว่ามี โปรตีนและแคลเซียมต่ำ ในขณะที่ปริมาณไขมันอิ่มตัวไม่ต่างจากชีสจากนมสัตว์มากนัก ผู้ผลิตจึงต้องคำนึงเรื่องการเสริมสารอาหารที่จำเป็นประกอบด้วย

โยเกิร์ตจากพืช
ในอดีต โยเกิร์ตจากพืชทำมาจากถั่วเหลืองเป็นหลัก ทว่า ปัจจุบัน มีการคิดค้นสูตรโยเกิร์ตจากพืชอื่นๆ เช่น ข้าวโอ๊ต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และมะพร้าว เพื่อที่ผู้แพ้ถั่วเหลืองจะได้มีตัวเลือกมากขึ้น โยเกิร์ตจากพืชนั้นมักจะมีปริมาณน้ำตาลหรือสารให้ความหวานต่ำ พร้อมเสริมโปรตีนสังเคราะห์และจุลินทรีย์พรีไบโอติก-โพรไบโอติก เหมาะกับผู้สนใจดูแลสุขภาพ

เนยจากพืช
ผู้บริโภคจำนวนมากเลือกรับประทานเนยเทียม/มาร์การีน แทนเนยแท้ ด้วยเหตุผลด้านราคาหรือการหลีกเลี่ยงไขมัน ทั้งนี้  ในปัจจุบัน  มีผลิตภัณฑ์เนยเทียมและเนยขาวจากพืชที่ปลอดไขมันทรานส์วางขายในตลาดเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ใส่ใจสุขภาพ เนื่องจากไขมันทรานส์ในเนยเทียมแบบเดิม อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นต้น

โอกาส อุปสรรค และความท้าทายของผู้ส่งออกไทยในตลาดยุโรป

ช่องทางการตลาดที่สำคัญสำหรับการวางขายสินค้าจากพืช ได้แก่Modern Trade ทั้งซุปเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ได้แก่ ร้านค้าสะดวกซื้อ และร้านค้าจำหน่ายสินค้าเฉพาะทาง (วีแกน, มังสวิรัติ, ออร์แกนิก) ช่องทางออนไลน์ แพลตฟอร์มร้านค้า ออนไลน์ รวมทั้ง Supplier ของธุรกิจ HoReCa เนื่องจากผู้เล่นหลักในตลาด Plant-Based ในยุโรปมักเป็นบริษัท FMCG รายใหญ่จึงอาจพิจารณาสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับร้านอาหารไทยและผู้นำเข้าสินค้าไทย เพื่อเป็นฐานในการขยายตลาดในทวีปยุโรป

โอกาสสหรับสินค้าในกลุ่มนี้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่ เนื่องจากแนวโน้มผู้บริโภคชาวยุโรปสนใจเลือกบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพและรักษา สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ตลาดสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจากพืชมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้ง ไม่เกี่ยงเรื่องราคาหากสินค้ามีคุณภาพจริง ผู้ผลิตจึงสามารถกำหนดราคาสินค้าให้สอดคล้องกับต้นทุนได้

นอกจากนี้ แบรนด์ที่เป็นที่นิยมในตลาดและกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่มักจะสนับสนุนความยั่งยืน(Sustainability) อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์และกระบวนการผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการระบุข้อมูล ส่วนผสม สรรพคุณ อย่างชัดเจนในฉลากผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ผู้บริโภคในยุโรปหันมาซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น นับตั้งแต่วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งการขายสินค้าออนไลน์จะช่วยทุ่นต้นทุนการวางขายหน้าร้านได้

สำหรับไทย อุตสาหกรรมการเกษตรของไทยมีศักยภาพในการนำผักผลไม้ เมืองร้อน เช่น ธัญพืช ถั่วเหลือง ข้าว มะพร้าว มาแปรรูปเป็นอาหาร ทดแทนจากพืช เพื่อสอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการของตลาด อีกทั้ง อาหารไทยยังมีชื่อเสียงในภูมิภาคยุโรปว่ำเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ดี การวิจัยและพัฒนาสินค้าในกลุ่มนี้ จะต้องอาศัยการสนับสนุน เงินทุนและความร่วมมือของทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการผลักดันอุตสาหกรรมอาหารจากพืช

อุปสรรคและความท้าทายในสินค้ากลุ่มนี้ ได้แก่ การที่ผู้เล่นหลักในตลาด Plant-Based ในยุโรปมักเป็นบริษัท FMCG รายใหญ่ ผู้ประกอบการไทยที่จะขยายตลาดเข้าไปในยุโรปจะต้องมีพันธมิตรผู้ผลิต จัดจำหน่าย และเครือข่ายการขนส่งสินค้าในท้องถิ่นที่เชื่อถือได้

ตลาด Plant-Based ในไทยยังมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับในยุโรป อีกทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่ในไทยจะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ผู้บริโภคในต่างจังหวัดยังไม่คุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มากนัก จึงอาจเป็นอุปสรรคในการส่งเสริมตลาดในประเทศ และต่อยอดในการวิจัยและ พัฒนาสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าและสามารถส่งออกมายังต่างประเทศได้

การขนส่งสินค้าจากไทยไปยังทวีปยุโรป มักจะขนส่งทางเครื่องบินหรือ เรือขนสินค้า ทว่าสถานการณ์โรคระบาดในปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบโลจิสติกส์โลก ทำให้ต้นทุนการขนส่งด้านราคาและเวลาในการขนส่งสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะหากต้องรักษาอุณหภูมิผลิตภัณฑ์ขณะขนส่งด้วยตู้แช่เย็น/แช่แข็ง ปัจจัยนี้อาจกระทบต่อต้นทุนและ ความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจเริ่มด้วยการทำการตลาดสินค้าที่เก็บได้นานและไม่ต้องแช่เย็นก่อน เช่น นม UHT

ที่มาข้อมูล : รายงานข่าวเด่นจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์ (ต.ค. 2564)
Pénzcentrum

_____________________________________________
Website : http://ditp-overseas.com
Facebook: https://www.facebook.com/ditpoverseas
Youtube : https://bit.ly/36fT76e

#DITP #OMD2 #สพต2