อัตราเงินเฟ้อของเคนยาซะลอตัวลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกันในช่วง 12 เตือนที่ผ่านมา ลดลงเหลือร้อยละ 9.3 เมื่อเตือนธันวาคมที่ผ่านมา จากเติมคือร้อยละ 9.5 ในเตือนพฤศจิกายน เนื่องจาก ราคาสินค้าอาหารเริมปรับตัวลตลง แม้กระนั้น อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่สูงเกินจากที่ธนาคารกลางกำหนดเพตานไว้ที่ร้อยละ 7.5 การลตลงของอัตราค่าครองชีพที่กล่าวมา เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงการคลี่คลายของวิกฤตค่าครองชีพซึ่งแตะระดับสูงสุตในรอบเกือบท้าปี ส่งผลให้ราคาอาหารและพลังงานพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ราคาอาหารในเดือนธันวาคม 2565 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกันเตือนธันวาคมปี 2564 อย่างเช่น กะหล่ำปสี และผักโขม ผักสองชนิตนี้เป็นผักที่ชาวเคนยานิยมบริโภคในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ราคาเนื้อวัวและแป้งข้าวโพตยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคจ่ายเงินคิดเป็นร้อยละ 37.7 ไปกับราคาข้าวโพตฝักซึ่งเป็นวัตถุติบหลักในการบริโภคที่มีราคา 77.47 เคนยาซิลลิ่ง (ประมาณ 21 บาท) ต่อหนึ่งก็โลกรัม ทั้งนี้ อาหารคือหนึ่งในสามของการจับจ่ายสินค้าครัวเรือนของเคนยา เท่ากับว่าค่าครองชีพที่สูงขึ้นมีผลกระทบต่อราคาอาหารมากที่สุด อย่างเช่น ราคาน้ำมันตีเซลที่ใช้สำหรับการขนส่งและเดินเครื่องจักรในฟาร์มปรับราคาขึ้นสูงสุดเมื่อปีที่ผ่านมา มีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 162.91 เคนยาซิลสิ่ง/ลิตร ซึ่งแน่นอนว่าต้องกระทบกับราคาผลผลิตทางการเกษตร ราคาอาหารที่มาจากต้นทุนการผลิตที่สูงก็ต้องเพิ่มราคาขึ้นสูงเช่นกัน นอกเหนือจากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นแล้ว อีกหนึ่งในคำครองชีพที่เพิ่มขึ้นและส่งผลต่อผู้บริโภคอย่างหลีกเสี่ยงไมได้คือค่าเดินทางโตยระบบขนส่งสาธารณะ เนื่องจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนการขนส่งเฉลี่ยเมื่อเตือน ธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นอกจากปัจจัยต้านราคาพลังงานแล้วผู้ให้บริการรถมโดยสารสาธารณะไต้ปรับราคาคำตยสารขึ้นเพื่อรักษาส่วนต่างระหว่างช่วงเทศกาลคริสต์มาส ส่วนภาคพลังงานด้านอื่นๆ […]

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบัวโนสไอเรส รายงานถึงสภาวะตลาดการค้าของอาร์เจนติน่า ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมสูงถึง 4 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 80,000 ราย รัฐบาลอาร์เจนตินาจึงดำเนินมาตรการที่เข้มงวดเพื่อลดการเคลื่อนที่ของประชาชน ทำให้ธุรกิจการค้าไม่สามารถเปิดได้ตามปกติ การค้าผ่านช่องทางออนไลน์จึงมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นมาเป็นอย่างมาก         ทั้งนี้ ประเทศอาร์เจนตินานับเป็นประเทศที่รัฐบาลบังคับใช้มาตรการกักตัวสำหรับทุกคน (Total Quarantine) นานที่สุดในโลกคือนับตั้งแต่เดือนมีนาคม – ธันวาคม 2563 และในต้นเดือน พ.ค. 2564 ที่ผ่านมารัฐบาลก็ได้กลับมาบังคับใช้มาตรการกักตัวสำหรับทุกคนอีกครั้งทั่วประเทศ แม้จะผ่อนคลายมากกว่าปี 2563 ก็ตาม ส่งผลให้ธุรกิจ e-Commerce มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปี 2563 มีการทำรายการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากกว่า 251 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึงร้อยละ 72 และมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มมากถึง 9,528 ล้านเหรียญสหรัฐจากจำนวนประชากร 20 ล้านคนที่ทำการซื้อของออนไลน์ภายในประเทศ (ข้อมูลจากหอการค้าอิเล็กทรอนิกส์แห่งอาร์เจนตินา: Camara Argentina de Comercio Electronico หรือ […]

ด้วยกระแสรักสุขภาพ และกระแสการสร้างความยั่งยืนในการบริโภค ทำให้เทรนด์ตลาดอาหารโปรตีนจากพืชมาแรงในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หรือในยุโรปที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 49% ตั้งแต่ปี 2561 – 2563 โดยเฉพาะในประเทศอิตาลี มีผลการศึกษาของ Italian Food Union แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการบริโภคอย่างยั่งยืนส่งผลให้ชาวอิตาเลียนทานอาหารโปรตีนจากพืชกันมากขึ้น ในปี 2563 มีสินค้าอาหารจากพืชจำหน่ายในอิตาลีกว่า 12,000 รายการ มูลค่าการจำหน่ายมากถึง 3.2 พันล้านยูโรนอกจากนี้ ในสหรัฐอเมริกายังเกิดกระแสการบริโภคอาหารทะเลจากพืช เนื่องจากประเทศสหรัฐฯมีการบริโภคผลิตภัณฑ์ประมงมากเป็นลำดับที่ 5 ของโลก และมีผลการศึกษาวิจัยได้คาดการณ์ว่า ภายในอีก 30 ปีข้างหน้า สัตว์น้ำทะเลบางชนิดอาจสูญพันธ์จากการถูกจับมาบริโภคมากเกินไป ดังนั้น ทางออกในการบริโภคอาหารทะเลทางเลือก ผนวกกับคุณประโยชน์ของอาหารทำจากพืช จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความต้องการและขยายตัวของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากพืช ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า อาหารทะเลจากพืชน่าจะมีโอกาสเติบโตและขยายตัวในระยะเวลาอีก 10 ปีข้างหน้า และคาดว่าตลาดจะมีมูลค่าสูงถึง 1.3 พันล้านเหรียญการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีน หรืออาหารทะเลจากพืช จึงนับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการอาหารไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับด้านรสชาติและคุณภาพของอาหารในระดับสากล ที่สำคัญควรพิจารณาถึงช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ที่มาข้อมูล: รายงานการค้า สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโกรายงานการค้า สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ […]

        เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าข้าวของสหรัฐอเมริกาในแต่ละปีมีมูลค่าสูงมากถึงกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และข้าวหอมมะลิไทย คือผลิตภัณฑ์ข้าวนำเข้าที่ครองมูลค่าทางการค้าของตลาดสหรัฐฯจนกระทั่งหน่วยงานวิจัยข้าวสหรัฐฯคิดหาหนทางในการพัฒนาพันธุข้าวจัสมินของตนเองให้ดียิ่งขึ้น และศูนย์วิจัยข้าวในสหรัฐฯหลายแห่งมีการเปิดตัวข้าวสายพันธุ์จัสมิน โดยต่างก็อ้างว่ามีคุณสมบัติเทียบเคียงกับข้าวหอมมะลิไทย หากแต่ก็ยังไม่เคยมีการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงลึกอย่างแท้จริงสักที         และแล้วเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา วารสาร Rice Firming ของสหรัฐฯได้นำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาคณะเกษตรและวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอาคันซอส์ ซึ่งมีการนำคุณสมบัติทางกายภาพ องค์ประกอบทางเคมี มาเปรียบเทียบข้าวสายพันธุ์จัสมินสหรัฐฯ กับข้าวหอมมะลิไทย และผลลัพธ์ที่ได้คือ แม้จะมีข้าวจัสมินบางสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติ “เกือบ” จะใกล้เคียงกับคุณสมบัติของข้าวหอมมะลิไทย แต่ผู้วิจัยก็สรุปผลว่า คุณสมบัติของข้าวหอมมะลิไทย มีความเด่นกว่าข้าวจัสมินสหรัฐฯ เนื่องจากได้รับอิทธิพลด้านพันธุกรรมอย่างมากจากปัจจัยด้านสถานที่เพาะปลูก และช่วงเวลาการเพาะปลูกการค้นคว้านี้อาจทำให้สหรัฐฯหาทางพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ดีและมีคุณภาพใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิไทยมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี ข้าวหอมมะลิไทย มีคุณภาพเหนือชั้นกว่าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อนำไปหุงสุกแล้ว โดยเฉพาะในด้านรสชาติ ที่มาข้อมูล: รายงานตลาดเรื่อง “รายงานการศึกษาเปรียบเทียบข้าวจัสมินที่ปลูกในสหรัฐฯกับข้าวหอมมะลิไทย” โดย สคต. ชิคาโก Website : http://ditp-overseas.comFacebook: https://www.facebook.com/ditpoverseasYoutube : https://https://bit.ly/36fT76e #DITP#OMD2#สพต2

ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา สภาวะการแพร่ระบาดโควิด 19 ในสหรัฐอเมริกาเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นเริ่มผ่อนปรนนโยบายควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้ชาวอเมริกันเริ่มกลับมาดำเนินวิถีชีวิตตามภาวะปกติ เช่นการรับประทานอาหารนอกบ้าน การเดินทาง ชมภาพยนตร์และคอนเสิร์ต หรือกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมบริการในสหรัฐฯ ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจด้านอาหาร รวมถึงอาหารไทยซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวและมีความต้องการใช้วัตถุดิบการปรุงอาหารไทยในอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น เช่น ข้าวหอมมะลิ เส้นก๋วยเตี๋ยว ซอสปรุงรส กะทิกระป๋อง เครื่องแกง และสมุนไพรต่างๆ แต่ปัญหาด้านต้นทุนวัตถุดิบการผลิตสินค้า ต้นทุนด้านพลังงาน และต้นทุนในการขนส่งสินค้าที่ปรับตัวขึ้นอาจกระทบต่อต้นทุนจนผู้ประกอบการหลายรายอาจหันไปเลือกใช้การลดต้นทุนการผลิตเพื่อคงความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด อย่างไรก็ดีแม้ว่าราคาจะมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแต่ปัจจัยด้านคุณภาพและความสม่ำเสมอของสินค้าก็มีอิทธิผลค่อนข้างมากกับผู้บริโภคในสหรัฐฯ ผู้ประกอบการไทยจึงควรให้ความสำคัญต่อการรักษาราคาและคุณภาพสินค้าให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถรักษาสัดส่วนตลาดส่งออกได้อย่างยั่งยืน ที่มาข้อมูล: ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ จากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองไมอามี วันที่ 14 – 18 มิถุนายน 2564 และหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal “Retail Sales Dropped 1.3% in May as Pandemic Shopping Habits Shifted” วันที่ 16 มิถุนายน […]

        พวกเราคงเคยได้ยินการตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือที่เรียกว่า BREXIT มาพักใหญ่แล้ว อันที่จริงสถานภาพเพิ่งจะสิ้นสุดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2564 ที่ผ่านมานี่เอง และการตัดสินใจครั้งนี้ มิใช่เพียงจะทำให้สหราชอาณาจักรสิ้นสุดการเป็นสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปเท่านั้น แต่ยังสิ้นสุดการเป็น Custom Union หรือสหภาพศุลกากร หลังจากเป็นสมาชิกมานานถึง 47 ปีอีกด้วย แม้ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันว่าจะยังไม่มีการตั้งภาษีและโควต้าในการขนส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างกัน แต่การแยกตัวออกมาก็ยังคงส่งผลกระทบในหลายมิติ เช่น ขั้นตอนการขนส่งสินค้าเป็นต้น ในวันนี้เราจะขอสรุปผลกระทบในระยะสั้นที่จะเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ค่ะ 1.ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจคือ ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวสืบเนื่องจากอุปสรรคในการขนส่งสินค้าข้ามแดน เนื่องจากผู้ประกอบการจะต้องทำการเตรียมเอกสารประกอบการขนส่งสินค้ามากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาคยุโรปและสหราชอาณาจักรสูงมากขึ้น มีการคาดการณ์ว่าต้นทุนค่าขนส่งข้ามแดนอาจจะสูงมากขึ้นถึง 47% เทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 เลยทีเดียวจากต้นทุนที่สูงขึ้นนี้ ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมในภูมิภาคยุโรปได้เริ่มมองหาแหล่งสินค้าทดแทนจากประเทศอื่น เพื่อลดผลกระทบของความยุ่งยากด้านศุลกากรและการขนส่งกันบ้างแล้ว 2.สำหรับผู้ประกอบการของสหราชอาณาจักร หลายอุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบเช่น อุตสาหกรรมประมง และอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ที่มูลค่าการส่งออกในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ได้ลดลงไปมากถึง 20% จากความยุ่งยากของการขนส่งสินค้า 3.สำหรับผู้ประกอบการไทยควรศึกษากฎระเบียบการนำเข้า/ส่งออกสินค้า โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการส่งออกสินค้าไทยจากสหราชอาณาจักรต่อไปยังสหภาพยุโรป เนื่องจากสินค้าที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีจะต้องเป็นสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดตามกฏถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงหลัง Brexit เท่านั้น และอาจมีผลกระทบต่อต้นทุนในการขนส่ง และระยะเวลาส่งมอบสินค้า ที่มาข้อมูล: บทสรุปข่าวการค้าระหว่าง […]

Healthy World คือชื่อเรียกกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมสินค้าเพื่อสุขภาพ ซึ่งในสาธารณรัฐเช็ก ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น เห็นได้จากผลการสำรวจของ Nielsen Agency ในกลุ่มร้านค้าปลีกไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายยาในสาธารณรัฐเช็ก พบว่าในปี 2563 ผู้บริโภคให้ความสนใจต่อสินค้าเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทผลไม้ สินค้าออร์แกนิกสำหรับเด็ก ตลอดจนกลุ่มอาหารเสริมที่มีวิตามิน ไฟเบอร์ และแร่ธาตุ โดยพบว่ายอดซื้อเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในเดือนมีนาคม 2563 และกลับมาเพิ่มสูงอีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคม 2563 ต่อมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในระลอกแรกและระลอกสองตามลำดับนอกจากยอดจำหน่ายสินค้าตามช่องทางออฟไลน์แล้ว ช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ก็มียอดสั่งซื้อสินค้าออร์แกนิกสูงขึ้นถึงร้อยละ 30 โดยเฉพาะสินค้าประเภท BIO สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมในอาหารและผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืช และความต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์จึงนับเป็นโอกาสทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการอาหาร ในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการเพิ่มคุณค่าทางสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามิน ด้วยนวัตกรรมเพื่อโอกาสทางการค้าในกลุ่มที่มีกำลังซื้อและใส่ใจคุณค่าของผลิตภัณฑ์ ที่มาข้อมูล: “เทรนด์ใส่ใจสุขภาพในเช็ก โอกาสอาหารแนวสุขภาพและออร์แกนิก” โดยสคต. ณ กรุงปราก _____________________________________________Website : http://ditp-overseas.comFacebook: https://www.facebook.com/ditpoverseasYoutube : https://https://bit.ly/36fT76e⠀#DITP #OMD2 #สพต2