ข้อมูลตัวเลขดุลการค้าจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ที่ได้มีการเผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาระบุว่า ปี 2565 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือเกือบประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวได้รับแรงกระตุ้นจากอุปสงค์ความต้องการสินค้าที่ขยายตัวในกลุ่มเครื่องจักรกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์การขาดดุลสินค้าและบริการรวมของปี2565 อยู่ที่ 948,100 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นการขาดดุลการค้าที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังจากวิกฤติการระบาดของ COVID อนึ่ง การระบาดดังกล่าวทําให้การใช้จ่ายในภาคบริการเกิดการชะงักงัน แต่ได้ช่วยกระตุ้นทําให้ภาคการบริโภคและอุปโภคเกิดการขยายตัว ตลอดจนทําให้เกิดความต้องการนําเข้าสินค้าเพิ่มเติมในหลายรายการเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อ ราคาพลังงานและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง ล้วนเป็นปัจจัยที่ทําให้ต้นทุนการผลิตมีราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ซึ่งทําให้มูลค่าการนําเข้าสินค้ามีการขยายตัวแปรผันตามนอกจากนี้ สหรัฐฯ พยายามลดบทบาททางการค้ากับจีน โดยการสร้างอุปสรรคทางการค้าต่างๆ เช่น กําแพงภาษีและมาตรการกีดกันทางการค้า ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ในสหรัฐฯ เริ่มหาแหล่งวัตถุดิบและแหล่งการผลิตทางเลือก ซึ่งตัวเลขการนําเข้าได้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการปรับเปลี่ยนฐานการผลิตของสหรัฐฯ จากทั่วโลก โดยในปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ นําเข้าสินค้าจาก เม็กซิโก แคนาดา อินเดีย เกาหลีใต้เวียดนามและไต้หวันเพิ่มขึ้นอย่างมากรัฐบาลภายใต้การนําของประธานาธิบดี Biden ระบุว่า การที่สหรัฐฯ พึ่งพาการผลิตจากจีนในอุตสาหกรรมการผลิตแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ จึงได้พยายามโน้มน้าวบริษัทในสหรัฐฯ ด้วยสิ่งจูงใจ ตลอดจนมีบทลงโทษเพื่อทําให้บริษัทเหล่านั้นพิจารณาปรับเปลี่ยนแหล่งห่วงโซ่อุปทานออกจากจีนไปยังที่อื่น ทั้งนี้ […]

ในปี 2565 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลก มีมูลค่ารวมประมาณ 47.32 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 70.80 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2573 โดยอัตราเดิบโตเฉลี่ยในช่วงระหว่าง 2566 ถึง 2573 คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.99 ต่อปี วิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่เร่งรีบมากขึ้นในปัจจุบัน กำลังขับเคลื่อนความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทานที่สามารถตรียมและบริโภคได้สะดวกรวดเร็วโดยไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจวัตประจำวันที่เร่งรีบ ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความสะดวกต่อผู้บริโภได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นอกจากนี้ ปัจจัยด้านประชากรชนชั้กลางที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีอุปสงค์การบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีมากขึ้นด้วย เหล่านี้จึงเป็นแรงผลักดันให้ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์และนำเสนอรสชาติที่แตกต่างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภครวมทั้ง หาช่องทางลดต้นทุนเพื่อให้สมารถผลิตผลิตภัณฑ์มีราคาย่อมเยาขึ้น และมีการนำเสนอคุณประโยชน์ของสารอาหารในมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาของผู้ผลิตนี้คาดว่าจะสามารถกระตุ้นการเติบโตของตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลกได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนผสมของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยแป้งสาลีชั้นดีและเกลืออัลคาไลน์ผสมกัน นอกจากนี้ ยังมีการเติมส่วนผสมเพิ่มเติมต่างๆ ลงในแป้ง เช่น น้ำมัน กลูเตน และสารเพิ่มความคงตัว เช่น กัวร์กัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะผ่านการทำให้แห้งไม่ว่าจะเป็นด้วยการทอดหรือการอบ โดยปกติแล้วบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมาในซองขนาดเล็ก ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่องจากพกพาสะดวก เตรียมง่าย และจัดเก็บสะดวก มีหลากหลายรสชาติ รวมถึงตัวเลือกแบบมังสวิรัติ รวมทั้ง ยังมีส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผักอบแห้ง แป้งสาลี เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลอบแห้งที่มักจะมาในซอง/ถ้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์บรรจุบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีทั้งแบบถ้วย/ซาม หรือแบบแพ็คที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ […]

ลิเทียม กำลังจะเวทีประลองกำลังใหม่ของบรรดาผู้ผลิตยานยนต์ที่พยายามจะเอาชนะในตลาดยานยนต์พลังงานไฟฟ้า โดย General Motors (GM) ประกาศว่าจะลงทุน 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกิจการพัฒนาแหล่งแร่ลิเทียม Lithium Americas (LAC) ในรัฐเนวาดา ซึ่งเหมืองแห่งนี้รู้จักกันในนาม Thacker Pass มีแผนจะเริ่มกระบวนการผลิตแร่ลิเทียมประมาณครึ่งหลังของปี 2026 โดยเงินลงทุนของ GM จะถูกแยกเป็น 2 ส่วนและจะขึ้นอยู่กับ LAC ว่าจะทำตามเงื่อนไขได้หรือไม่ ยอดการลงทุนของ Thacker Pass น่าจะพอๆ กับที่ GM จะต้องใช้เพื่อให้บรรลุเป้าในการผลิตยานยนต์พลังไฟฟ้า (EV)จำนวน 1 ล้านคันในพื้นที่อเมริกาภายในกลางทศวรรษนี้ ซึ่งการหาแหล่งผสิตวัตถุดิบและส่วนประกอบในการผลิต EV ที่สำคัญมากๆ จากภายในภูมิภาคอเมริการเหนือเองและประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ทำให้ผู้ผลิต EV มีห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคง ช่วยให้กำหนดราคาได้ง่ายและสร้างงานได้มากด้วย นอกจากความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานแล้ว การหาแหล่งวัตถุดิบและการผลิตภายในภูมิภาคนี้เองยังมีความสำคัญต่อผู้ผลิต EV ในอีกแง่หนึ่งด้วย นั่นคือ เครดิตภาษีในการจัดซื้อ ซึ่งหนึ่งในเงื่อนไขของกฎหมาย Inflation Reduction Act ที่เพิ่งจะผ่านออกมาไม่นานนี้ ก็คือต้องใช้แหล่งและมีการแปรรูปวัตถุดิบภายในภูมิภาคเองข้อกำหนดให้ผลิตภายในท้องถิ่นนับวันจะยิ่งเขม็งเลียวแน่นขึ้น […]

และหันมาซื้อสินค้า Private Lable Brand เพิ่มขึ้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ผู้บริโภคชาวดัตช์มากกว่า 1 ใน 3 ลดการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคลง เนื่องจากราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก และมีความละเอียดอ่อนต่อราคาและข้อเสนอพิเศษหรือการลดราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยผู้บริโภคชาวดัตช์หันมาเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานแบรนด์ราคาประหยัด (Budget Brand หรือ Private Label Brand หรือ House Brand) ที่มีราคาถูกกว่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จากเดิมที่เคยเลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์เนมของบริษัทผู้ผลิต (Name – Brand หรือ A – Brand) สินค้าอุปโภคบริโภคและค่าใช้จ่ายประจำต่างๆ ที่มีเพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าสตางค์ของผู้บริโภคชาวดัตช์อย่างเห็นได้ชัด Motivaction ได้ทำการสำรวจและวิจัยออนไลน์ในกลุ่มผู้บริโภคชาวดัตช์พบว่า 4 ใน 5 ของผู้บริโภคชาวดัตช์ต้องประหยัดและระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น และ 1 ใน 3 ของผู้บริโภคชาวดัตช์จะต้องประหยัด รัดเข็มขัด และระมัดระวังในการใช้จ่ายอย่างจริงจัง รวมทั้งต้องจัดลำดับความสำคัญและตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงเพื่อที่จะสามารถบริการจัดการรายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละเดือน 1 ใน 4 ของผู้บริโภคชาวดัตช์เลือกซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์เนมของบริษัทผู้ผลิต (Name – Brand หรือ […]

การประชุมสุดยอดผู้นําอเมริกาเหนือ (The North American Leaders’ Summit) ได้ให้คํามั่นที่จะกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุน และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรม และความยืดหยุ่นไฮไลท์ของการประชุมสุดยอดคือข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และแคนาดา เพื่อร่วมมือกันในการสนับสนุนการจัดหาเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นตลาดที่เอเชียครอบครอง โดยเฉพาะจีน ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ เข้าร่วมโดยจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา และประธานาธิบดีอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ของเม็กซิโก ที่กรุงเม็กซิโกซิตี้สําหรับการประชุมสุดยอดผู้นําอเมริกาเหนือครั้งที่ 10ผู้นําทั้งสามเห็นพ้องกันที่จะเสริมสร้างความมั่นคง ความมั่งคั่ง ความยั่งยืน และความครอบคลุมของภูมิภาคผ่านพันธสัญญาใน 6 เสาหลัก ได้แก่ ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการอยู่ร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ความสามารถในการแข่งขัน; การย้ายถิ่นและการพัฒนา สุขภาพ; และความมั่นคงในภูมิภาค (diversity, equity, and inclusion; climate change and the environment;competitiveness; migration and development; health; regional […]

ชาวเม็กซิกันยังคงบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แม้ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยหมวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์มีการเติบโต 13.7% เนื่องจากแนวโน้มการบริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจรายงานจากบริษัทที่ปรึกษา NielsenIQ ระบุภาคส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์กําลังต่อสู้กับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการเติบโตที่เพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มการบริโภคและการอยู่บ้านมากขึ้นในการนําเสนองานวิจัย “วิสัยทัศน์ของเครื่องดื่ม: การบริโภคในและนอกสถานที่” บริษัทได้เน้นย้ําถึงประสิทธิภาพที่ดีที่คงไว้ในประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากการเพิ่มขึ้นของราคาอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีผลประกอบการดีมาก เนื่องจากการเติบโตที่แสดงให้เห็นในปริมาณที่สูงกว่าประเภทอื่นๆCecilia Partida ซีอีโอของ NielsenIQ กล่าวว่า มีผลกระทบเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคา แต่ปริมาณการขายยังเป็นไปในเชิงบวก Energy / ready Drinks, Teasผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเครื่องดื่มชูกําลัง ชาพร้อมดื่ม และชาไอโซโทนิกกําลังเติบโตเป็นเลขสองหลักในหมู่ผู้บริโภคชาวเม็กซิกันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจขึ้นใหม่ หมวดหมู่เหล่านี้จะเริ่มเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีความถี่ในการซื้อมากขึ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจส่งผลดีต่อภาคส่วนนี้ ข้อมูลของ NielsenIQ ยังแสดงให้เห็นว่าภาคส่วนเครื่องดื่มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวเม็กซิกัน 78% ที่ต้องการออกไปข้างนอก เยี่ยมชมร้านอาหารหรือบาร์ คณะกรรมการกล่าวว่า นี่เป็นเพราะการเปิดอีกครั้ง แต่ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในวิสัยทัศน์ของชีวิตเมื่อเผชิญกับประสบการณ์ทั้งหมดของการแพร่ระบาด”มูลค่าตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ในเม็กซิโกสูงถึง 22,000 ล้านเปโซ โดยยังคงรักษาไดนามิกที่ดีต่อจากภาคอาหารและเหนือหมวดอื่นๆ เช่น ขนมหวาน สุขอนามัย และความงาม

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 ผู้แทนรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศกรีซ บัลแกเรีย โรมาเนีย และฮังการี ได้แก่ DESFA Bulgartransgaz FGSZ และ SNTGN Transgaz ตามลำดับ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding หรือ MoU) ณ การประชุม World LNG Summit & Awardsกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ และแถลงร่วมกันว่า ทั้งสี่ประเทศเห็นพ้องกันที่จะร่วมกันลงทุนยกระดับขีดความสามารถของโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Pipeline Network) ภายในระยะเวลาสามปี และอาจพิจารณาขยายเวลากรอบการดำเนินงานออกไปอีกได้ โครงการพัฒนาโครงข่ายท่อลำเลียงก๊าซธรรมชาติ Vertical Gas Corridor ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2559 เพื่อกระจายแหล่งนำเข้าก๊าซธรรมชาติของประเทศสมาชิก โดยได้ออกแบบระบบท่อส่งก๊าซเป็นระบบ Bidirectional หรือลำเลียงก๊าซได้สองทิศทาง กล่าวคือ ก๊าซธรรมชาติจะถูกส่งออกจากต้นทาง คือกรีซ ไปยังประเทศปลายทางในทวีปยุโรป ผ่านบัลแกเรีย โรมาเนีย และฮังการี […]

การปลูกข้าวที่เมือง Mwea ในจังหวัด Kinyaga ประเทศเคนยามีมาอย่างยาวนานหลายทศวรรษ โดยอาศัยน้ำจากตอนบนของอ่างเก็บน้ำ Tana และทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนธันวาคมของทุกปั ดังที่ถือปฏิบัติมาโดยตลอด ข้าวที่ผลิตได้จากระบบการจัดการน้ำ Mwea Irigation Scheme นี้ คิดเป็นร้อยละ 84 ของผลผลิตข้าวทั้งหมดในเคนยา แต่ถึงกระนั้น ก็ยังต้องประสบกับปัญหาการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรระบุว่า การบริโภคข้าวในประเทศเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวจากเดิม 12 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเมื่อปี 2551 เป็น 23 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ดังนั้นแม้จะมีพื้นที่ปลูกข้าวขนาด 30,000 เอเคอร์ พร้อมการชลประทานและจากแหล่งเพาะปลูกอื่นๆ จากทั้งประเทศอย่างพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่เขต Bura Aher และ Budalanei และเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ เคนยาจึงจำเป็นที่ต้องนำเข้าข้าวอย่างหลีกเสี่ยงไม่ได้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศปากีสถาน แทนซาเนีย อินเดีย ยูกานตา และไทย เคนยาจำเป็นต้องนำเข้าข้าวจำนวนมากเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ โดยเคนยาต้องทุ่มเงินประมาณ 25 พันล้านเคนยาซิลสิ่ง (200 ล้านเหรียญสหรัฐ) ต่อปัในการนำเข้าข้าว ด้วยกำลังการผลิตที่น้อยกว่าความต้องการบริโภคดังกล่าวข้างต้น คาดว่าปีนี้เคนยาจะต้องนำเข้าข้าวจำนวน 640,000 เมตริกตัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ […]

กระทรวงเศรษฐกิจรายงานว่า รัฐบาลเม็กซิโกออกกฤษฎีกาใหม่เพื่อยกเว้นภาษีนําเข้าชั่วคราวจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ของอาหาร ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยส่วนบุคคล อาหารสัตว์ และวัสดุการเกษตร เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน/ตอบโต้การขึ้นราคาของสินค้าในช่วงปี 2566มาตรการนี้มาตรการต่อเนื่องของนโยบายต่อต้านเงินเฟ้อและเนื่องจากบริบทระหว่างประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นโดยทั่วไปของราคา และสอดคล้องกับแพ็คเกจต่อต้านเงินเฟ้อและต้นทุนสูง (Package against Inflation and High Costs(Pacic)) และข้อตกลงการเปิดเพื่อต่อต้านเงินเฟ้อและต้นทุนสูง (Opening Agreement against Inflation and High Costs: (Apecic)) พระราชกฤษฎีกาใหม่ที่ขยายอายุการใช้มาตรการออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 มีผลบังคับใช้กับสินค้าที่จัด อยู่ใน 33 พิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งเพิ่มให้กับสินค้าที่มีการลดภาษีแล้ว นอกจากนี้ สินค้าที่จัดอยู่ใน 23 พิกัดภาษีจะรวมอยู่ในหน่วยงานบริหารในการรับรองกฎระเบียบและข้อจํากัดที่ไม่ใช่ภาษีผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่ ไก่งวง กระเทียม ผักกาด ผักโขม ถั่วเลนทิล ลูกแพร์ ข้าวเปลือก แป้งข้าวโพด ไส้กรอก ปลานิล ซอสถั่วเหลือง ซอสมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศอื่น ๆ […]

สําหรับไตรมาสแรกของปี 2565 การนําเข้าไฮดรอลิกซีเมนต์ระดับภูมิภาคในอเมริกากลางเพิ่มขึ้น 16% โดยกัวเตมาลาเป็นผู้นําเข้ารายใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่า 52 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเวียดนามเป็นแหล่งนําเข้าอันดับ 1 ของสินค้านี้ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ผู้นําเข้าหลักของซีเมนต์ไฮดรอลิกในอเมริกากลาง ได้แก่ กัวเตมาลา ซึ่งมีมูลค่ารวม 52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาคือ นิการากัว มูลค่า 31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เอลซัลวาดอร์ มูลค่า 29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ฮอนดูรัส มูลค่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และปานามา มูลค่า 29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ และคอสตาริกา 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างไตรมาสแรกของปี 2564 และช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 มูลค่าการนําเข้าในภูมิภาค เพิ่มขึ้น 16% โดยเพิ่มจาก 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปี […]