ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารในสหราชอาณาจักร ได้คาดการณ์เทรนด์ของสินค้าอาหารที่สำคัญในปี 2565 ดังนี้  1. Flexitarian หรือ การกินอาหารมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น – จากรายงาน Trends Council ล่าสุดของ Whole Foods Market พบว่า ‘reducetarianism’ เป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองในปี 2565 เนื่องจากเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารจากพืชเป็นหลัก แต่ยังคงรับประทานเนื้อสัตว์อยู่บ้าง ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Whole Foods ยังคาดการณ์ว่า ผู้บริโภคอาหารประเภท flexitarian มีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ นม และไข่ที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงสวัสดิภาพของสัตว์และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น   แพลตฟอร์มอาหารออนไลน์ ShelfNow ได้ให้ข้อมูลว่า ในช่วงระหว่างปี 2563 – 2564 ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารมังสวิรัติเพิ่มขึ้น ร้อยละ 156 และผลิตภัณฑ์อาหารที่ทดแทนเนื้อสัตว์เป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมากในสหราชอาณาจักร 2. อาหารเช้าที่มีคุณภาพ (Bigger, better breakfast) – การทำงานที่บ้านได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าของผู้บริโภค โดยชาวสหราชอาณาจักรมีเวลาในการรับประทานอาหารเช้าที่บ้านเพิ่มขึ้น จากการสำรวจโดยห้าง Waitrose […]

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022 เป็นต้นไป เยอรมนีกำหนดเก็บค่ามัดจำขวดเครื่องดื่มพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและกระป๋องเครื่องดื่มทุกประเภท ยกเว้นเพียงขวดพลาสติกบรรจุนม ที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านถึงปี 2024 ส่วนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่อยู่ในท้องตลาดแล้ว สามารถจำหน่ายได้โดยไม่เรียกเก็บค่ามัดจำขวดจนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2022 ทั้งนี้ เยอรมนีเริ่มใช้ระบบมัดจำคืนเงินสำหรับบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา ข้อบังคับที่ใช้จนถึงขณะนี้มีการเรียกเก็บค่ามัดจำจำนวน 0.25 ยูโร สำหรับขวดเบียร์ น้ำดื่ม น้ำอัดลม และเครื่องดื่มผสมที่มีแอลกอฮอล์ โดยยกเว้นการเก็บค่ามัดจำสำหรับขวดเครื่องดื่มน้ำผลไม้ น้ำผัก นม ไวน์ สุรา มาตรการใหม่จะยกเลิกข้อยกเว้นค่ามัดจำบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มบางประเภท เช่น กำหนดให้เรียกเก็บค่ามัดจำขวดสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ ซึ่งทำให้ต้องจำหน่ายในราคาแพงขึ้น (บวกค่ามัดจำ) ไทม์ไลน์ มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการคุมเข้มการใช้พลาสติก ปี 2022  มัดจำคืนเงินสำหรับขวดเครื่องดื่มพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวและกระป๋องเครื่องดื่มทุกประเภท ปี 2023  นำเสนอภาชนะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้าแทนภาชนะที่ใช้แล้วทิ้ง (ร้านขนาดเล็กได้รับการยกเว้นจากข้อบังคับนี้) ปี 2025  ขวดเครื่องดื่ม (PET) แบบใช้ครั้งเดียว ต้องผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 25% ปี 2030  ขวดเครื่องดื่มพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทั้งหมด จะต้องมีสัดส่วนของพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย […]

“Veganuary” หรือ แคมเปญการงดเว้นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ตลอดเดือนมกราคม ได้กลายเป็นกิจกรรมที่สำคัญประจำปีของอุตสาหกรรมอาหาร โดยในปี 2564 มีผู้ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างเป็นทางการกว่า 5 แสนราย จาก 209 ประเทศ ผู้จัดงาน Veganuary ได้คาดการณ์ Veganuary ในปีนี้ จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในการเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารได้คาดการณ์เทรนด์ของสินค้าอาหาร Vegan ที่สำคัญในปี 2565 ดังนี้ นมจากพืช – ในปี 2564 ยอดจำหน่ายนม Vegan ในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.3 จากปี 2563 โดยหนึ่งในสามของชาวสหราชอาณาจักรมีการบริโภคนมจากพืช (plant-based milk) โดยนมที่ได้รับความนิยม ได้แก่ นมข้าวโอ๊ต และ นมอัลมอนด์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่านมมันฝรั่งจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับความนิยมในปีนี้ อาหาร Vegan ประเภท Junk Food – ผู้บริโภคที่เพิ่งเริ่มรับประทานอาหาร Vegan นิยมบริโภคอาหาร Vegan ที่มีรสชาติเหมือนอาหารที่คุ้นเคยแต่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ […]

การขาดดุลการค้าของประเทศเคนยาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (เดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน 2564) โดยมูลค่าการขาดดุลเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 38.57 อันเนื่องมาจากความต้องการสินค้าอุปโภค บริโภคที่ผลิตจากต่างประเทศ น้ำมันเชื้อเพลิง และต้นทุนการนำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นภายหลังจากการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตสินค้า เพื่อส่งต่อมายังผู้บริโภคได้หยุดชะงักช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) อยู่ในขั้นวิกฤต จากข้อมูลทางการค้าที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติของเคนยา (Kenya National Bureau of Statistics – KNBS) แสดงให้เห็นว่าการขาดดุลการค้ามีมูลค่ามากขึ้นเป็น 988.51 พันล้านเคนยาชิลลิ่ง จากเดิม 713.37 พันล้านเคนยาชิลลิ่ง ซึ่งเป็นการตรวจสอบรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ นานาประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนการนำเข้าสินค้าและบริการที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากการสะดุดของการจัดสรรวัตถุดิบ การผลิตสินค้าไปจนถึงการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดให้แก่ผู้บริโภค ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงได้เองอย่างประเทศเคนยา อ้างอิงจากข้อมูลก่อนการแก้ไขครั้งล่าสุดระบุว่าผู้ประกอบกิจการและผู้นำเข้าชาวเคนยาต้องใช้ต้นทุนการนำเข้ามากถึง 1.53 ล้านล้านเคนยาชิลลิ่ง ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกันยายนปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.04 เมื่อเทียบกับปี 2563 ซึ่งมีต้นทุนการนำเข้าสินค้าอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านเคนยาชิลลิ่ง การนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดเป็นร้อยละ 13.29 เมื่อเทียบกับการส่งออกสินค้า คิดเป็นมูลค่า […]

หลังจากที่ DITP ประสบความสำเร็จในการต่อยอดโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์การออกแบบแฟชั่นไทยในงาน MQ Vienna Fashion Week อย่างต่อเนื่องมาแล้ว 12 ปีติดต่อกันในหลายมิติ ได้แก่ 1) การสร้างภาพลักษณ์ของวงการแฟชั่นไทยและแบรนด์ประเทศไทยให้เป็นที่จดจำในสายตาชาวโลกผ่านเวทีที่น่าเชื่อถือ 2) สร้างเวทีให้นักออกแบบไทยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพการเติบโตในฐานะแบรนด์แฟชั่นสากลได้เรียนรู้วิถีการทำงานจริงในวงการแฟชั่นระดับสากล 3) สร้างโอกาสในการจำหน่ายสินค้าได้ทั่วโลกในหลากหลายช่องทาง โดยในปีนี้ จะมีการจัดงาน MQ Vienna Fashion Week 2022 ในเดือนกันยายนที่จะถึง และประเทศไทยเป็นหุ้นส่วนรายสำคัญเพียงหนึ่งเดียวในเอเชียที่ได้รับสิทธิ์การจัดแฟชั่นโชว์ในงานนี้ ภายใต้แนวคิด Thai Soft Power โดยมีแบรนด์ที่ได้รับคัดเลือกทั้งสิ้น 5 แบรนด์ได้แก่ • แบรนด์ Kram Phon • แบรนด์ Marionsiam • แบรนด์ Paul Direk • แบรนด์ Riva • แบรนด์ Sirintra ซึ่งที่ผ่านมามีนักออกแบบไทยได้ร่วมงานและสร้างชื่อให้กับประเทศแล้วร่วม 20 แบรนด์ และสามารถต่อยอดประสบความสำเร็จด้านการค้าในหลายประเทศ รวมถึงภูมิภาคเอเชีย […]

คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่า วิกฤต Covid-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาสนใจกับอาหารและสุขภาพมากขึ้น โดยทุกวันนี้ อาหารเสริม วิตามินประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยม เริ่มตั้งแต่ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน (Immnue System) ลดความเครียดและปรับสภาพจิตใจทางอารมณ์ (Stress Resilience and metal well-being) ยังคงเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมต่อเนื่องไปในปี 2565 นอกจากนี้ สินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Environmetal Sustaintability) ตามกระแส Climate Chage ที่ได้กลายเป็นสินค้าที่ผู้ผลิต/ผู้บริโภคได้หันมาสนใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เทรนด์สินค้าอาหาร ที่น่าจับตาในปี 2565 แบ่งออก 4 เทรนด์ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) Plant-Based Power ผู้บริโภคได้ให้ความสนใจกับสินค้าโปรตีนจากพืชตั้งแต่ช่วงก่อน Covid-19 ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวยังคงมาแรงในปีนี้ ที่ปัจจัยสนับสนุนจากกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Flexitarian (เป็นกลุ่มที่ทานมังสวิรัตเป็นหลักแต่ก็มีการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นครั้งเป็นคราว) หรือเรียกว่าเป็นกลุ่มมังสวิรัติที่ไม่ได้เคร่งครัด โดยทุกวันนี้มีประชากรกว่า 65% ที่เริ่มหันมาบริโภค Plant-Based และ 22% ของประชากรที่ยอมรับว่ามีการบริโภคสินค้า Plant-Based เป็นประจำทุกวัน เหตุผลหลักที่คนกลุ่มนี้หันมาบริโภคโปรตีนทางเลือกเนื่องจาก […]

วันที่ 5 มกราคม 2565 สำนักข่าว Bloomberg เปิดเผยรายงานวิเคราะห์เศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และข้อมูลเบื้องต้นจากธนาคารกลางของประเทศ โดยพบว่าการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของภาคน้ำมันในปีนี้ตั้งไว้ที่ 5.0% เทียบกับปีก่อนหน้าที่หดตัว -2.0% คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตในปี 2565 นี้ โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคส่วนบุคคลที่ฟื้นตัวท่ามกลางความหวังว่าการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะไม่รุนแรง ส่วน GDP ของภาคที่ไม่รวมน้ำมัน (Non-oil GDP) จะอยู่ระดับเดียวกับปี 2564 หลังจากที่กลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ หรือ GCC รวมถึงยูเออึได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผนวกกับราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง แต่ตั้งแต่ช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา กลับพบว่าเศรษฐกิจยูเออีมีความเชื่อมั่นที่ดีเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากการผ่อนคลายจำกัดการเดินทางหนุนรัฐเดินหน้าเปิดประเทศทำให้ฟันเฟืองเศรษฐกิจทุกภาคส่วนทยอยฟื้นตัว ทั้งการจัดงานแสดงสินค้า และการจัดงาน World Expo 2020 ที่เมืองดูไบ ซึ่งเปิดตัวในเดือนตุลาคม 2564 สามารถดึงดูดผู้เข้าชมหลายล้านคน อีกทั้งสามารถสร้างผลดีให้ประเทศยูเออีได้ อย่างน้อยก็เพิ่มชื่อเสียงได้ในระดับนานาชาติ ยกระดับภาพลักษณ์ของดูไบ ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป เพราะหากอ้างตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เคยมีการคาดการณ์จากเว็บไซต์ของนิตยสารเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียของตะวันออกกลาง Arabian Business พบว่า ช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่มีการจัดงาน World […]

ในช่วงปี 2564 (ม.ค. – พ.ย.) การส่งออกของไทยมาอียิปต์มีมูลค่า 33,009.04 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.26 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ อาหารทะเลแปรรูป (ปลาทูน่ากระป๋อง) ชิ้นส่วน/ส่วนประกอบรถยนต์ผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในขณะที่ การค้ารวมระหว่างไทย-อียิปต์ ในปี 2563 มีมูลค่า 27,645.07 ล้านบาท ไทยส่งออก 27,224.85 ล้านบาท นำเข้า 420.22 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยได้เปรียบดุลการค้ามูลค่า 26,804.63 ล้านบาท แหล่งนำเข้าสำคัญของอียิปต์ในปี 2563 ได้แก่ จีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด รองลงไป ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 6.8) ซาอุดิอาระเบีย (ร้อยละ 6.4) เยอรมนี (ร้อยละ 5.9) ตุรกี (ร้อยละ […]

เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา บริษัท Kenya Power เปิดเผยแผนการที่จะถือครองส่วนแบ่งการตลาดหลักทรัพย์ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าผ่านการสร้างจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศและผลักดันให้ลดภาษีนำเข้าสำหรับรถยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ผู้จัดจำหน่ายไฟฟ้ารายหนึ่ง กล่าวว่า บริษัทฯ ต้องการสร้างเครือข่ายจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะ โดยมีเป้าหมายเพื่อข้ามผ่านอุปสรรคในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเคนยา นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลในการลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์สำหรับการสร้างจุดชาร์จไฟฟ้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลในการมีรถยนต์จดทะเบียนอย่างน้อยร้อยละ 5 ให้เป็นรถที่ไม่ใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงในอีก 5 ปีข้างหน้า (2027) โดยรักษาการประธานบริหารของบริษัท Kenya Power นางสาว Rosemary Oduor ได้กล่าวในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัทฯ ว่า “เราได้วางแผนที่จะก่อตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ และจะใช้สถานที่ปฏิบัติงานที่เรามีอยู่แล้วในการให้บริการหลังการขาย เช่น การให้คำปรึกษาด้านเครื่องกล การบำรุงรักษาต่าง ๆ เป็นต้น “ในฐานะผู้ให้บริการพลังงานไฟฟ้ารายเดียวของประเทศเคนยา และด้วยเป้าหมายของเราซึ่งเป็นผู้ให้บริการคำปรึกษาพร้อมหาทางออกด้านพลังงานได้ใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอเครื่องยนต์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญมากพอในการขับเคลื่อนธุรกิจ” ทั้งนี้ปัญหาความกังวลหลัก ๆ สำหรับผู้ที่คิดจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ คือวิธีการและสถานที่ในการชาร์จไฟฟ้าให้กับรถยนต์ บริษัท Kenya Power คาดการณ์ว่าจะสามารถตั้งจุดให้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามทางหลวงสายหลัก ลานจอดรถ และในห้างสรรพสินค้า โดยมีสถานที่ปฏิบัติงานที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นศูนย์กลางสำหรับบริการหลังการให้บริการ การเข้าร่วมกับบริษัทผลิตไฟฟ้าเคนยา Kenya Electricity Generating Company PLC (KenGen) […]

แนวโน้มการลดการบริโภคอาหารจากเนื้อสัตว์กลายเป็นเรื่องปกติในสเปน  ชาวสเปนจะบริโภคไข่ นม เนยแข็ง และโยเกิร์ตบ่อยสุดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง  ผลิตภัณฑ์ที่บริโภคมากที่สุดคือผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก และจากการที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพ สร้างความยั่งยืนกับสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงสวัสดิภาพสัตว์ ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืช (Plant-based) ในฐานะโปรตีนทางเลือกสำหรับผู้ใส่ใจในสุขภาพ อาหารควบคุมน้ำหนัก อาหารสำหรับผู้บริโภคมังสวิรัติและวีแกนมีการขยายตัวของยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในตลาดสหภาพยุโรป รวมทั้งสเปน  สเปนเป็นตลาดผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืช (Plant-based) ที่อยู่ในลำดับต้นๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรป นอกเหนือจากเยอรมนี  เนเธอร์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส เป็นต้น  โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สเปนมียอดขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถึง 448 ล้านยูโร ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 48%  น้ำนมจากพืชเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาดสเปน  (มูลค่า 318 ล้านยูโร) รองลงมาได้แก่ ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช (มูลค่า 87 ล้านยูโร)  และโยเกิร์ตจากพืช (มูลค่า 42 ล้านยูโร) ในส่วนของผลิตภัณฑ์น้ำนมจากพืชนั้น  น้ำนมจากข้าวโอ๊ตมียอดขายสูงสุดเป็นมูลค่า 125 ล้านยูโร ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 25%  รองลงมา ได้แก่ น้ำนมจากถั่วเหลือง (มูลค่า […]