สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคในภูมิภาคอเมริกาเหนือนิยมรับประทานอาหารร้อน อาหารปรุงสุก หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีความเย็นงดของดิบ รวมทั้ง ปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ล้วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ไอศกรีม โดยยอดขายในร้านค้าหรือซุเปอร์มาร์เก็ตในภูมิภาคอเมริกาเหนือลดลงร้อยละ 30 แต่สำหรับยอดขายในตลาดอีคอมเมิร์ซกลับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 49 เนื่องจากผู้บริโภคใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น สำหรับภาพรวมตลาดไอศกรีมในอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกา แคนาดาเม็กซิโก) คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 4.12 ในระหว่างปี 2565 -2570 (ข้อมูลจาก Mordor Intelligence)

แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค

ผู้บริโภคในภูมิภาคอเมริกาเหนือปัจจุบันมีความนิยมรับประทานไอศกรีมระดับพรีเมียมเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดได้อย่างดี อีกทั้งในอุตสาหกรรมไอศกรีมมีหลากหลายแบรนด์ที่หันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยพัฒนาไอศกรีมพรีเมียมที่มีแคลอรี่ต่ำ ไม่มีน้ำตาลเมื่อเทียบกับไอศกรีมทั่วไป ถึงแม้ปัจจุบันอาจจะยังไม่มีตัวเลือกมากนักในตลาด แต่เชื่อว่าไอศกรีมที่มีแคลอรี่ต่ำจะเป็นที่นิยมอย่างมากในอนาคต เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดภูมิภาคอเมริกาเหนือมีความกังวลด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคส่วนใหญ่จึงชอบผลิตภัณฑ์ไอศกรีมที่ปราศจากจีเอ็มโอ ปราศจากวัตถุกันเสีย ปราศจากนม แคลอรีต่ำ และปราศจากไขมันเทรนด์

ตลาดไอศกรีม ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆ เป็นที่ต้องการของตลาดไอศกรีมเพิ่มมากขึ้นซึ่งผู้ผลิตก็ได้พยายามริเริ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเฉพาะไอศกรีมที่มีส่วนผสมระดับพรีเมียม เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัไอศกรีมที่ปราศจากจีเอ็มโอ ปราศจากวัตถุกันเสีย และนิยมรสชาติจากธรรมชาติ ผลักดันให้บริษัทต่างๆ พยายามพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งจำนวนผู้ทานมังสวิรัติที่เพิ่มขึ้นในอเมริกาเหนือทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากนมและไอศกรีมที่ปราศจากนม ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ในปี 2564 ที่ผ่านมา

– บริษัท JD’s Vegan ได้นำเสนอทางเลือกใหม่ที่ปราศจากนม เพิ่มรสชาติใหม่ถึง 3 รสชาติ โดยไอศกรีมนี้ นอกจากจะทำส่วนผสมของพืช (Plant-based) เช่น ทำมาจากครีมมะพร้าวแล้ว ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ปราศจากแลคโตส จีเอ็มโอและไม่มีสารสังเคราะห์

– บริษัท Unilever ได้เปิดตัวไอศกรีมใหม่ ภายใต้แบรนด์ Breyers ที่ปราศจากส่วนผสมจากนม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

สำหรับในปี 2565 นี้ International Dairy Foods Association ได้ร่วมมือกับ Research America, Inc. ทำการสำรวจไอศกรีมรสโปรด 10 อันดับแรกของชาวอเมริกัน พบว่ารสชาติที่เป็นที่นิยมตามลำดับมี ดังนี้

1) รสช็อคโกแลต 2) รสคุกกี้แอนด์ครีม 3) รสวนิลา 4) รสสตรอว์เบอร์รี 5)รสช็อกโกแลตชิพ 6) รสคุกกี้ 7) รสเนยถั่วพีแคน 8) รสวานิลลาฝรั่งเศส 9) รสคุกกี้ช็อกโกแลตชิป 10) คาราเมล/คาราเมลเค็ม

พฤติกรรมผู้บริโภค ผู้บริโภคนิยมซื้อไอศกรีมกลับบ้านมากขึ้น

ชาวอเมริกันนิยมรับประทานไอศกรีมเป็นอาหารว่างหรือของหวาน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้ดังนี้

1)ไอศกรีมแบบรับประทานทันที (Impulse Ice Cream) มีช่องทางจัดจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ สถานีบริการน้ำมันและร้านค้าปลีกทั่วไป

2) ไอศกรีมแบบรับประทานที่บ้าน (Take-Home Ice Cream) มีช่องทางจัดจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ ซึ่งข้อมูลจาก International Dairy Foods Association พบว่าชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยบริโภคไอศกรีมและของหวานแช่แข็งประมาณ 23 ปอนด์ต่อปี

พฤติกรรมผู้บริโภค ผู้บริโภคนิยมซื้อไอศกรีมกลับบ้านมากขึ้น

ชาวอเมริกันนิยมรับประทานไอศกรีมเป็นอาหารว่างหรือของหวาน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้ดังนี้ 1) ไอศกรีมแบบรับประทานทันที (Impulse Ice Cream) มีช่องทางจัดจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ สถานีบริการน้ำมันและร้านค้าปลีกทั่วไป 2) ไอศกรีมแบบรับประทานที่บ้าน (Take-Home Ice Cream) มีช่องทางจัดจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ ซึ่งข้อมูลจาก International Dairy Foods Association พบว่าชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยบริโภคไอศกรีมและของหวานแช่แข็งประมาณ 23 ปอนด์ต่อปี

ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมซื้อไอศกรีมกลับบ้านมากขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ชาวอเมริกันหันมาสังสรรค์ที่บ้านเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง การที่ผู้ผลิตมุ่งเน้นการพัฒนาบรรจุภัณฑท์ ี่สร้างแรงจูงใจในการซื้อมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขายและเป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการในการซื้อไอศกรีมแบบกลับบ้านมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Nestlé ได้ร่วมมือกับบริษัท Loop ที่มีบริการจัดส่งถึงบ้านแบบสมัครเป็นสมาชิกสำหรับอาหารและของใช้ในครัวเรือนด้วยบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (reusable packaging) ด้วยความร่วมมือดังกล่าวไอศกรีม Häagen-Dazs ซึ่งเป็นแบรนด์ของ Nestlé ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ได้เปิดตัวบรรจุภัณฑ์แบบกระป๋องสแตนเลสในการบรรจุไอศกรีมแทนการใช้กระดาษ ซึ่งช่วยยกระดับประสบการณ์ของผู้บริโภคด้วยวิถีใหม่และทำให้ไอศกรีมอยู่ในสภาพที่ดีระหว่างการขนส่งและการบริโภคนอกจากนี้ ความนิยมการบริโภคอาหารว่างในภูมิภาคอเมริกาเหนือยังกระตุ้นให้ผู้บริโภคจำนวนมากชอบรับประทานไอศกรีมที่บ้าน โดยความต้องการซื้อไอศกรีมกลับบ้าน (Take-home Ice Cream) มีมากกว่าไอศกรีมแบบรับประทานทันที (Impulse Ice Cream) ประมาณร้อยละ 200

การแข่งขันในตลาด ตลาดไอศกรีมในอเมริกาเหนือมีการแข่งขันสูงและประกอบด้วยผู้เล่นระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ บริษัทที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดไอศกรีมสูงที่สุดในอเมริกาเหนือ ได้แก่ 1) บริษัท Unilever 2) บริษัท Nestle SA 3) บริษัท General Mills Inc 4) บริษัท Blue Bell Creameries ผู้เล่นเหล่านี้ มักจะมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ในตลาด และขยายผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ

การพัฒนาล่าสุด ในปี 2565 นี้ บริษัท Unilever ได้เปิดตัวไอศกรีมกว่า 19 รายการ ภายใต้แบรนด์ดังอย่าง แบรนด์ Breyers แบรนด์ Klondike แบรนด์ Magnum และแบรนด์ Talenti การขยายสายผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ เป็นกลยุทธ์การเพิ่มตัวเลือกให้หลากหลายมากขึ้นจากรสชาติเดิมๆ ที่ชาวอเมริกันนิยมรับประทานและเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้บริโภคต้องการลิ้มลองรสชาติใหม่ๆ มากขึ้น โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา หลายแบรนด์ได้เปิดตัวไอศกรีมรสชาติใหม่ เช่น แบรนด์ Baskin-Robbins ในตลาดแคนาดาได้เปิดตัวไอศกรีมรสชาติใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของชาวแคนาดาที่ชอบทานรสชาติหวานและผู้ที่ชอบทานรสเค็ม ด้วยรส Salted Almond Honeycomb ซึ่งเป็นไอศกรีมรสใหม่ล่าสุดที่มีทั้งรสหวานและเค็มแบบคลาสสิก มีจำหน่ายที่ร้าน Baskin-Robbins ทั่วประเทศแคนาดา นอกจากนี้ บริษัท Nestle ได้เปิดตัวไอศกรีมรสชาติใหม่ที่ชื่อว่า Heaven ซึ่งมีส่วนผสมของไขมันน้อยแคลอรี่ต่ำและมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่าไอศกรีมทั่วไปถึงร้อยละ 25 และได้รับความนิยมอย่างมาก