การนำเข้าสินค้าทุนสำหรับการเกษตรขยายตัวสูงปีนี้ ซึ่งขับเคลื่อนโดยแนวโน้มบวกของสินค้าจำพวกเครื่องจักรกลการเกษตร ในทางกลับกัน การซื้อสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตลดลง สะท้อนถึงความไม่แน่นอนเนื่องจากแรงกดดันการหยุดชะงักในห่วงโซ่และต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะต่อเนื่องถึงปี 2565 ตลอดปี เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการนำเข้าสินค้าทุนสำหรับภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.5 จากระยะเวลาเดียวกันเมื่อปี 2563 และขยายตัวมากขึ้นถึงร้อยละ 112.2 ในเดือนตุลาคม 2564 ตามรายงานของกระทรวงการพัฒนา อุตสาหกรรม และการค้าต่างประเทศและบริการของบราชิล ซึ่งการซื้อสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัวร้อยละ 2.1 จากที่ขยายตัวถึงร้อยละ 32.7 ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยช่วงมกราคม-พฤศจิกายน 2564 บราซิลนำเข้าเครื่องจักรและเครื่องมือการเกษตรเติบโตร้อยละ 33.7 ในขณะที่การซื้อสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 7.8

สำหรับการนำเข้าสินค้าขั้นกลางสำหรับภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 18.4 โดยเฉพาะสินค้าขั้นกลางสำหรับอุตสาหกรรมเติบโตร้อยละ 8.9 อย่างไรก็ดี การนำเข้าอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้ในฟาร์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 และการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มร้อยละ 27.7 ทั้งนี้ สถาบันการเศรษฐกิจของบราซิลเผยว่า ความคลาดเคลื่อนระหว่างการนำเข้าสะท้อนถึงความแตกต่างของความคาดหวังจากภาคเกษตรการทำฟาร์มและภาคอุตสาหกรรมสำหรับภาคเกษตรมีโอกาสที่ดีกว่า ในขณะที่ภาพรวมความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรมต่ำกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในห่วงโช่อาจกระทบต่อสาขาอุตสาหกรรมมากกว่าสาขาเกษตรกรรม

อย่างไรก็ดี สถาบันการเศรษฐกิจของบราซิลคาดการณ์ว่า สาขาเกษตรกรรมจะขยายตัวตลอดทั้งปี 2564 ร้อยละ 1.3 และคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 5 ในปี 2565 สำหรับในภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 ในปี 2564 และร้อยละ 1.1 ในปี 2565 ในขณะที่อุตสาหกรรมการผลิตจะหดตัวร้อยละ 3.2 นอกจากตัวเลขการนำเข้า ยังมีข้อมูลการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรมีแนวโน้มบวกที่เติบโตร้อยละ 40.3 ในช่วงมกราคม-ตุลาคม 2564 สำหรับเครื่องจักรกลสำหรับภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 17.1 ในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งเป็นผลจากความต้องการของผู้บริโภคในประเทศต่อสินค้าเกษตรที่มีมากกว่าสินค้าอุตสาหกรรม โดยจะเห็นจากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพสูง โดยสถาบันการเศรษฐกิจของบราซิลเปิดเผยว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลดีต่อรายได้และกำไรของเกษตรกร

สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ภาวะเงินเฟ้อ และการผันผวนของห่วงโซ่การผลิต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20.4 ของบริษัทที่จำกัดการขยายธุรกิจ ซึ่งเชื่อมโยงกับการผลิตสินค้าคงทนและร้อยละ 56.4 มีความยากลำบากในการผลิต

สถาบันการเศรษฐกิจของบราซิลย้ำว่า ภาคเกษตรช่วยขยายยอดขายเครื่องจักรกลการเกษตร โดยบราซิลมีการส่งออกเมล็ดพันธุ์ที่สร้างกำไรสูง อาทิ ถั่วเหลือง ข้าวโพด กาแฟ ฝ้าย เยื่อกระดาษ อ้อย และเนื้อสัตว์ ซึ่งเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 80 ของตลาดเครื่องจักรบราซิล ซึ่งคาดว่า ยอดขายของเครื่องจักรดังกล่าวจะขยายตัวร้อยละ 40 สำหรับปี 2564 เครื่องจักรกลและเครื่องมือการเกษตรขยายตัว เนื่องจากบราซิลได้ขยายพื้นที่เพาะปลูก และได้เพิ่มการปลูกในพื้นที่ดังกล่าวร้อยละ 3.6 ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ฤดูร้อนที่มีการปลูกช่วงกันยายน-พฤศจิกายน 2564 และจะเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 ในปี 2565 และได้เพิ่มเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับรองรับการเก็บเกี่ยวผลิตผลดังกล่าว

นอกจากนี้ สถาบันการเศรษฐกิจของบราซิลคาดการณ์เพิ่มเติมว่า ผลผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรจะขยายตัวร้อยละ 36.8 ในปี 2564 และจะหดตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 ในปี 2565 สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.2 ในปี 2564 และหดตัวลงร้อยละ 3.7 ในปี 2565 ซึ่งในปีหน้าจะเป็นปีที่มีความท้าทาย สำหรับภาคเกษตรกรรม จะมีปัญหาเรื่องต้นทุนที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะราคาปุ๋ยและยาฆ่าแมลงซึ่งจะมีดอกเบี้ยสูงส่งผลต่อการลงทุนในภาคเกษตร ทั้งนี้ รัฐบาลบราซิลไม่มีการปล่อยสินเชื่อสำหรับช่วยแผนการเพาะปลูก โดยเกษตรกรจะต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ในการปรับการผลิตให้ทันสมัย

ความเห็นและข้อเสนอแนะ

เครื่องจักรกลการเกษตรเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อภาคเกษตรของบราซิล โดยบราซิลส่งเสริมภาคเกษตรเพื่อเป็นแหล่งผลิตสำหรับการบริโภคภายในประเทศ และสามารถเพาะปลูกผลผลิตที่คล้ายคลึงกับไทยมาก โดยไทยมีการส่งออกชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตรไปบราซิลปี 2564 มูลค่า 6,996 เหรียญสหรัฐฯ โดยบราซิลเป็นตลาดใหญ่ของสินค้าดังกล่าวและมีการส่งออกกลุ่มชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตรมาไทยเช่นกัน อาทิ ชิ้นส่วนและเครื่องจักรกลสำหรับปลูกและเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง คิดเป็นมูลค่า 1,024,600 เหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ของการส่งออกทั้งหมดของบราซิล ดังนั้น สินค้าเครื่องจักรกลการเกษตรและชิ้นส่วนประกอบของบราซิลและไทยเป็นสินค้าที่เกื้อกูลกัน และยังเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในตลาดบราซิล โดยควรเน้นให้มีนวัตกรรมทางการเกษตร ช่วยเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น และลดการสูญเสียของต้นทุนจากการผลิต ซึ่งจะช่วยให้มีการนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้นได้

ที่มาข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซาเปาโล (ธันวาคม 2564)

_____________________________________________
Website : http://ditp-overseas.com
Facebook: https://www.facebook.com/ditpoverseas
Youtube : https://bit.ly/36fT76e

#DITP #OMD2 #สพต2