ปัจจุบัน ชาวเช็กตระหนักรู้เกี่ยวกับพิษภัยของการใช้พลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จากผลสำรวจพบว่าจำนวน 8 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า วัสดุอันตรายที่สุดในบรรดาขยะทั่วไป คือพลาสติก ตามด้วยโลหะโดยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดนั้น คือ กระดาษ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ยังคงไม่ได้รับข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับพลาสติกและการจัดการที่เหมาะสม ทราบเพียงผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมโดยจำนวน 1 ใน 3 ระบุว่าไม่เคยร่วมโครงการหรือกิจกรรมใดของโรงเรียนที่ควรจะมีการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ    

การรับทราบข้อมูลของคนส่วนใหญ่มาจากช่องทางอินเทอร์เน็ต ป้ายฉลากบนบรรจุภัณฑ์สินค้า โดยคนหนุ่มสาวได้รับข้อมูลคำแนะนำจากผู้ปกครองหรือเพื่อน แต่ในปัจจุบันสถาบันการศึกษาเริ่มมีการให้ความรู้แก่เด็ก ๆ มากขึ้น และผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดต้องการให้มีการริเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ จากภาครัฐมากขึ้น

ปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีสัดส่วนร้อยละ 19 ของขยะบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในยุโรป และเริ่มมีจำนวนลดลดลงเรื่อย ๆ Jan Daňsa ผู้อำนวยการบริษัท ALPLA ในสาธารณรัฐเช็ก ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2534 บรรจุภัณฑ์ที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบมีจำนวนลดลงประมาณร้อยละ 25 เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการผลิตและการออกแบบทำให้สามารถใช้วัสดุอื่นทดแทนได้ และทำให้ลดปริมาณพลาสติกเกือบ 6.2 ล้านตันต่อปี ในยุโรปตะวันตก

จำนวน 1 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะไม่มีการใช้พลาสติกอีกต่อไป โดยร้อยละ 7 เชื่อว่าพลาสติกยังคงมีความจำเป็นและเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีพลาสติก อาทิ การใช้ขวด PET หรือถุงพลาสติกโดยเฉพาะขวด PET ที่มีการใช้มากที่สุดในกลุ่มผู้บริโภคช่วงอายุ 15 – 24 ปี โดยจำนวน 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าโลกที่ปราศจากพลาสติกจะสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่การดำเนินชีวิตจะซับซ้อนและทุกอย่างจะราคาแพงขึ้น

จากการศึกษาวิเคราะห์ของหน่วยงาน LCA (European Platform on Life Cycle Assessment) ระบุว่า การใช้วัสดุอื่นมาแทนที่จะเป็นการสร้างภาระต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเสริมว่า โลกที่ปราศจากพลาสติกนั้นจะไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะการผลิต จำหน่าย กำจัด และการรีไซเคิลวัสดุอื่น ๆ จะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าพลาสติก ปริมาณของขยะจะไม่ลดลง อีกทั้งยังจะมีขยะที่รีไซเคิลได้ยากเพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบัน ครัวเรือนกว่า 3 ใน 4 มีความรับผิดชอบในการแยกขยะเพิ่มขึ้นทุกปี และคนส่วนใหญ่นิยมนำถุงติดตัวไปซื้อสินค้า โดยพบมากที่สุดในผู้สูงอายุ ขณะที่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 34 ปี มีการใช้กระดาษและถุงผ้ามากขึ้น และคนเริ่มกลับมาใช้ถ้วยกระตาษเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าที่ไม่มีส่วนประกอบของพสาสติกมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นรวมถึงร้านค้าประเภท Zero Waste Store ยังไม่เป็นที่นิยมในสาธารณรัฐเช็กมากเท่าใดนัก แต่ชาวเช็กส่วนใหญ่ยังต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามยังได้ให้ความเห็นว่า ภาครัฐควรส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยจำนวน 4 ใน 10 คน ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่ม และเห็นว่าบริษัทและผู้ผลิตควรมีความรับผิดชอบในเรื่องการลดการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง โดยหน่วยงานรัฐควรออกกฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อให้ผู้ผลิตไต้ตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุประเภทใตสำหรับบรรจุภัณฑ์ และเห็นว่าเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการรณรงค์ให้ผู้บริโภคลดการใช้พลาสติก อย่างไรก็ตาม นักวิชาการเห็นว่า ปัญหาตังกล่าวเป็นปัญหาส่วนรวม ซึ่งผู้ผลิตและผู้บริโภคควรมีส่วนร่วมในการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

บทวิเคราะห์/โอกาส/ข้อเสนอแนะ/แนวทางการปรับตัว

ปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารจากหลายช่องทาง ในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้พลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้บริโภคชาวเช็กเริ่มตระหนักรู้ถึงความจำเป็นในการลดการใช้พลาสติก เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แม้ว่าบางส่วนยังคงเห็นว่าผู้ผลิตและผู้ประกอบการ รวมถึงภาครัฐ ควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว แต่ยอมรับว่าการลดการใช้พลาสติกเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ในสาธารณรัฐเช็ก กฎหมายห้ามการจำหน่ายสินค้าพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง สำหรับสินค้าที่กำหนด อาทิ หลอดที่คนแก้ว ก้านสำลี กล่องบรรจุอาหาร คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2565 ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการไทย ควรเตรียมแผนการพัฒนาสินค้าที่คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณทั้งในเรื่องวัตถุติบหรือวัสดุที่ใช้กระบวนการผลิต ระบบโลจิสติกส์ ทั้งนี้ ไม่ว่าสินค้าดังกล่าวจะเป็นพลาสติกหรือไม่ก็ตาม แต่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกสินค้า และหากสามารถสร้างจุดเด่นในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ จะทำให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าสู่ตลาดไต้อย่างยั่งยืน

ที่มาข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงปราก (ธันวาคม 2564)
idnes.cz/ekonomika/domaci

_____________________________________________
Website : http://ditp-overseas.com
Facebook: https://www.facebook.com/ditpoverseas
Youtube : https://bit.ly/36fT76e

#DITP #OMD2 #สพต2