ประเทศสมาชิกกลุ่มประชาคมแอฟริกาตะวันออก (EAC) กล่าวว่า การประชุมสุดยอดผู้นำสหรัฐฯ-แอฟริกา (United States-Africa Leaders Summit ๒๐๒๒) เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ นั้น เป็นโอกาสในการนำเสนอการลงทุนและการเปิดตลาดให้กับสินค้าด้านเกษตรกรรม สุขภาพ และพลังงาน ซึ่งการลงทุนในสามด้านนี้คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแอฟริกาตะวันออกโดยรวม

ในขณะที่เคนยากำลังมองหาการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของตนที่ส่งไปขายยังสหรัฐอเมริกา และยังมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวเข้าสู่ข้อตกลงด้านพลังงานนิวเคลียร์นั้น ประเทศยูกันดาได้แสดงเจตจำนงค์เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยา โดยกล่าวถึงความจำเป็นในการผลิตวัคซีนภายในประเทศ และในงานเดียวกันนี้ ทาง US-Afica Business Center โดยสภาหอการค้าของสหรัฐฯ เป็นผู้นำการอภิปรายแบบโต๊ะกลม (Round table meeting) กับประธานาธิบดีซาเมีย ชูลูฮ ของแทนซาเนีย เพื่อเปิดตัวแนวทางการส่งเสริมการลงทุนในแทนชาเนีย (Tanzania Investment Guide) ฉบับใหม่อย่างเป็นทางการด้วย

สหรัฐอเมริกาถือว่า เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดกับเคนยา กล่าวคือ เคนยาส่งออกชาจำนวนมากไปยังสหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดีวิลเลี่ยม รูโต ของเคนยาได้กล่าวว่า เคนยามีความต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสร้างโกดังเก็บซา กาแฟ ดอกไม้ตัดสดจากเคนยา พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาดในสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อแบรนด์ของเคนยา ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว พร้อมทั้งคาดว่าในอีก ๕ ปีข้างหน้านี้ ร้อยละ ๙๕ ของชาที่

วางขายในสหรัฐฯ จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เคนยามองว่า ไม่ว่าผลิตภัณฑ์จากชาภายใต้ชื่อทางการค้าอื่นๆ จะสร้างมูลค่าให้กับสินค้าของตนเองอย่างไร จะเรียกชนิด ประเภทชาของตนเองอย่างไร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเพิ่มมูลค่าคือสินค้าเหล่านั้นต้องมาจากประเทศ ที่เป็นผู้ปลูกชาได้เอง อย่างที่ประเทศเคนยาทำและจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวเองโดยเรียกว่า “ชาเคนยา (Kenyan tea)”

ทั้งนี้ เคนยาได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิซย์ การลงทุน และอุตสาหกรรมของเคนยา (Ministry of Trade and Industry) มีหน้าที่ดูแลการตลาดเพื่อให้สินค้าเกษตรของเคนยาที่วางขายในต่างประเทศมีโครงสร้างที่ ดีโดยได้มีแผนการอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อจัดตั้งคลังสินค้าส่งออกในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า “Kenya House” และดำเนินการโดย Trade Corporation โดยผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ของเคนยาสามารถวางจำหน่ายสินค้าได้ด้วย นอกจากนี้เคนยายังอยู่ระหว่างการหารือกับ Amazon ตลาดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งบนอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มในการเป็นสื่อกลางการซื้อ ขาย ข้ามพรมแดน โดยการกระจายสินค้าผ่าน Kenya House ตามแผนงานการตลาดดังกล่าวที่เห็นว่า การส่งเสริมการขายผ่านระบบ e-Commerce ถือเป็นแนวคิดทางการตลาดที่เหมาะสมที่จะทำให้สินค้าของเคนยาเป็นที่รู้จักในสหรัฐมากขึ้นได้

ดังที่ได้เกริ่นถึงข้อตกลงด้านพลังงานข้างต้นแล้วนั้น กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกได้ประกาศถึงการจัดตั้งคณะทำงานในความร่วมมือใหม่เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเป็นธรรม (Just energy transition – การเปลี่ยนผ่านภาคพลังงานสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในทางที่กระจายประโยชน์และต้นทุนของการเปลี่ยนผ่านอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม) โดยเคนยาจะต้องใช้ระบบ Direct air capture คือการดึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์มากักเก็บและแปรสภาพเพื่อใช้ในเชิงอุตสาหกรรมปริมาณ ๑,.๐ ถึง ๑๑,๐๐๐ ตันต่อปี โดยใช้พลังงานความร้อนใต้ภิภพ (Geothermal energy) อีกทั้งสหรัฐอเมริกายังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ ความร่วมมือด้านนิวเคลียร์กับเคนยาและกานาอีกด้วย เพื่อผลักดันนโยบายและความร่วมมือในความพยายามที่จะขยายความร่วมมือด้านการใช้นิวเคลียร์อย่างสันติในแอฟริกาในอนาคตด้วย

ส่วนประเทศยูกันดา โดยประธานาธิบดี โยเวรี มูเชเวนี ได้แสวงหาความร่วมมือด้านเวชภัณฑ์ยาและวัคซีน โดยเชิญชวนให้ร่วมมือกันในการผลิตวัคนและเวชภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยประเทศใดประเทศหนึ่ง (Global health) ตัวอย่างเช่น โรคระบาดต่างๆ (เช่น Ebola, Malaria, Covid19) ซึ่งความร่วมมือกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและแอฟริกาจะช่วยให้ประชากรได้รับยาและวัคซีนในราคาที่ถูกลง และยังได้กล่าวถึงความไม่เท่าเทียมในการผลิตยาทั่วโลกว่า ภูมิภาคแอฟริกาสมควรที่จะได้รับการเข้าถึงยารักษาโรคมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งเห็นได้จากตัวเลขส่วนแบ่งการผลิตยาทั่วโลกอยู่ที่ ๑.๔๒ ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่ส่วนแบ่งในแอฟริกมีอยู่เพียง ๑.๖ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ยูกันดาและเคนยาเป็นสองประเทศในแอฟริกาตะวันออกเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่ดีในการผสิตยา เนื่องจากมีทัรัพยากรที่จำเป็นในการผลิตอยู่จำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาในราคาที่ไม่แพง เพราะใช้วัตถุดิบในการผลิตที่มีราคาย่อมเยา ผู้นำยูกันดายังได้ย้ำในที่ประชุมอีกว่า ทีมนักวิจัยนักวิทยาศาสตร์ของยูกันดามีความสามารถในการพัฒนาวัคซึนเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด เช่น ไวรัสโคโรนา-19และมาลาเรีย และวัคซีนทุกประเภทที่จำเป็นต่อมนุษย์และสัตว์ ตัวอย่าง เช่น นักวิทยาศาสตร์ยูกันดาได้ค้นพบวัคซีนป้องกันเน็บเพื่อการทำปศสัตว์ เป็นต้น

ส่วนประเทศแทนซาเนีย ได้ร่วมประชุมอภิปรายแบบโต๊ะกลมกับสภาหอการค้าสหรัฐอเมริกาเพื่อเปิดตัวแนวทางการลงทุนในแทนชาเนียฉบับใหม่ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าสหรัฐและหน่วยงานพัฒนาการค้าแทนซาเนีย คู่มือการลงทุนดังกล่าวมีประโยชน์ต่อบุคคลและนิติบุคคลที่มองเห็นศักยภาพการลงทุนในแทนซาเนีย เพิ่มการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และความเจริญทางการค้าร่วมกัน อีกทั้งผู้นำแทนชาเนียยังได้พูดคุยกับผู้บริหารของ Millennium Challenge Corporation (MCC) หน่วยงานอิสระของสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือขั้นตอนในการกลับไปเห็นหุ้นส่วนกันอีกครั้งหลังจากคณะกรรมการ ของหน่วยงานมีมติให้ระงับการเป็นหุ้นส่วนการค้ากับแทนชาเนียเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙

ส่วนประเทศรวันดานั้น เป็นประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือจำนวนมากจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ เมื่อประธานาธิบดีพอล คากาเม่ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำวันดา ได้นำมาซึ่งความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ด้านการพัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ ๔0๐ ตามข้อมูลของธนาคารโลกระบุว่าในปี ๒๕’๖๘ สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือทวิภาคีแก่รวันดาเป็นมูลค่ากว่า ๑๔๗ ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงการบรรลุเป้าหมายในระบอบประชาธปไตยและธรรมาภิบาลด้วย

ความเห็นของ สคต.

การจัดการประชมุสุดยอดระหว่างผู้นำของแอฟริกาและสหรัฐ หรือ United States-Africa Leaders Summit ๒๐๒๒ ที่ สคต. สรุปในข้างตันนั้น ถือเป็นการประชุมระหว่างกันเป็นครั้งแรก ซึ่งเห็นได้ชัดว่า แอฟริกาเป็นภูมิภาคหนึ่งที่สหรัฐพยายามจะเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เช่นเดียวกับที่จีนทำอยู่ และอีกนัยหนึ่งก็เป็นเพราะสหรัฐมองว่า ต้องการลดบทบาทของจีนที่ในปัจจุบันมีอิทธิพลในแอฟริกามากกว่านั่นเอง จึงเป็นเวทีการแข่งชันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สหรัฐต้องการแข่งขันกับจีนมากขึ้น เพราะสหรัฐก็เห็นศักยภาพของแอฟริกาในการเป็นแหล่งทรัพยากรหลายด้านที่ไม่ควรมองข้าม

ในส่วนของประเทศไทยนั้น ทางหนึ่งผู้ส่งออกหรือผู้ประกอบไทยก็ควรเร่งการส่งเสริมการค้า และการลงทุนมายังตลาดแอฟริกาในอุตสาหกรรมที่มีโอกาสให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมด้านยาและเครื่องมือทางแพทย์ เป็นต้น และในส่วนของภาครัฐก็ควรเร่งเจรจาทำข้อตกลงทางการค้าหรือจัดการประชุมต่างๆให้มากขึ้น เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ประเทศไทยอาจสูญเสียโอกาสที่ดีในการค้าและการลงทุนในแอฟริกาในอนาคตได้ ในส่วนของตลาดเคนยานั้น สคต. และสอท. ไนโรบี พยายามจะเร่งการจัดการประชุมพหุภาคีหรือ Joint Committee (JC) ระหว่างไทยกับเคนยา ครั้งที่ ๒ ซึ่งกำหนดว่าจะมีการจัดการประชุมในช่วง มิ.ย. ๒๕๖๖ เพื่อผลักดันความร่วมมือในด้านต่างๆต่อไป นอกจากนั้น กระทรวงพาณิชย์โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศก็จะเริ่มมีการเจรจาพูดคุยข้อตกลงทางการค้ากับประเทศอียิปต์ในปีนี้เช่นเดียวกัน

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อ
สอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา : The East African