นับจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้สถานที่ทำงานในสหรัฐฯหลายแห่งเปิดกว้างต่อการแต่งกายแบบลำลอง และยินยอมให้สวมกางเกงยีนส์มาทำงานได้ ยิ่งไปกว่านั้น กระแสการเติบโตของ Social Media ยังทำให้ผู้บริโภคสหรัฐฯปรับตัวรับสิ่งใหม่ได้รวดเร็วกว่าเคยในลักษณะ Anything Goes รวมถึงสไตล์การแต่งกายที่ลำลองมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า ในช่วงเวลา 5 เดือนแรกของปี 2022 มียอดการนำเข้ากางเกงยีนส์ในสหรัฐฯโดยแบรนด์และผู้ค้าปลีกทั่วไปเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40.78 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2021 โดยมีมูลค่า 1.61 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั้งนี้แนวโน้มแฟชั่นกางเกงยีนส์ในสหรัฐฯเน้นกางเกงที่มีขารูปแบบต่างๆนอกเหนือจากกางเกงเข้ารูป เช่น ขาบาน ขากระบอก ขาตรง กางเกงยีนส์ Less Stretchy , non-stretch กางเกงยีนส์แบบ Low-Rise และ Mid-Rise, bootcut, cargo, balloon, relaxed และ baggy-fitting เป็นต้น
แม้ว่าแหล่งอุปทานสำคัญของสหรัฐฯคือบังคลาเทศ ปากีสถาน เวียดนาม จีน กัมพูชา และศรีลังกา แต่การส่งออกกางเกงยีนส์สำหรับผู้ชายจากไทยไปสหรัฐฯก็มีการเติบโตถึง 2 เท่าตัวระหว่างปี 2020 – 2021 และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ประกอบการไทย อาจจะพิจารณาเพื่อพัฒนารูปแบบกางเกงยีนส์ให้ตรงความนิยมของแฟชั่นในตลาดสหรัฐฯ และหาทางร่วมมือกับบริษัทแฟชั่นสหรัฐฯเช่น บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า สร้างจุดขายและการออกแบบให้มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และใช้ Social Media ในการสร้างตัวตนเพื่อให้เป็นที่รู้จักในตลาดสหรัฐฯมากยิ่งขึ้น
ที่มาข้อมูล: ข่าวประจำสัปดาห์: สำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแองเจลิส (11-15 กรกฎาคม 2565)
#MOC #DITP #OMD #TradeOpportunities #Fashion #USA