การประกาศนโยบายด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีไรซี่เมื่อคราวสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในเดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา นายไรซี่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไปสู่ความรุ่งเรืองที่ยั่งยืนในอนาคต ดังนั้น ท่ามกลางการเจรจารื้อฟื้นโครงการนิวเคียร์อิหร่านที่คาดว่ากำลังจะนำไปสู่ผลสรุปเป็นที่น่าพอใจในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ อิหร่านกลับมามีความหวังอีกครั้งว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาลชุดนี้ในการเร่งพัฒนาการค้าระหว่างประเทศและเพิ่มปริมารการผลิตน้ำมันดิบเพื่อการส่งออก

เหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซียกับยูเครนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ส่งผลให้ราคานำมันในตลาดโลกพุ่งสูงถึง 140 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับอิหร่านในการกลับเข้ามาสู่ตลาดอีกครั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายสำคัญหลังจากห่างหายไปเป็นเวลาหลายปี ทั้งนี้ กระทรวงน้ำมันอิหร่านได้ออกมาประกาศว่าหากการเจรจาโครงการนิวเคียร์ฯ ประสบผลสำเร็จ อิหร่านจะสามารถสูบฉีดนำมันดิบเข้าสู่ตลาดโลกในปริมาณสูงสุดได้ภายในเวลาไม่เกิน 2 เดือน เนื่องจากกระบวนการผลิตของอิหร่านดำเนินการต่อเนื่องมาโดยตลอดไม่ว่าจะมีการเจรจารื้อฟื้นโครงการนิวเคียร์ฯหรือไม่ก็ตาม โดยในช่วงที่ว่างเว้นจากการส่งออกอิหร่านก็ปั้มน้ำมันดิบเหล่านี้ป้อนโรงกลั่นสำหรับการอุปโภคภายในประเทศมิได้ขาด ในขณะดียวกันส่วนเกินที่นอกเหนือไปจากความต้องการก็มีการเก็บกักไว้ในคลังจัดเก็บเรียบชายฝั่งมาโดยตลอด ทำให้ปัจจุบันอิหร่านมีน้ำมับดิบในคลังจัดเก็บขนาดใหญ่ 2 แห่งกว่า 80 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นปริมาณที่สามารถส่งออกได้ทันที อย่างไรก็ตาม อิหร่านจะไม่ฝากความหวังในการระบายน้ำมันล๊อตนี้ รวมถึงปริมาณผลผลิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไว้กับผลของการเจรจาโครงการนิวเคียร์ฯ เพียงอย่างเดียวแต่จะพยายามขยายกำลังการผลิตของโรงกลั่นภายในประเทศหรือไม่ก็ใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบในโรงงานปิโตรเคมีต่อไป ถึงแม้ว่าอิหร่านจะไม่คาดหวังความสำเร็จของการเจรจารื้อฟื้นโครงการนิวคียร์ฯ ในการใช้เป็นแฟลตฟอร์มของการส่งออกน้ำมันก็ตาม แต่อิหร่านก็ยินดีหากผลของการเจรจาประสบความสำเร็จ เพราะนั่นหมายถึงจุดได้เปรียบของอุตสาหกรรมพลังงานอิหร่าน

จากผลของการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ OPEC Meeting เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางกลุ่มเห็นพ้องต้องกันในการที่คุมปริมาณการผลิตให้เป็นไปตามแผนที่ได้ตกลงไว้ก่อนหน้านี้ โดยจะเพิ่มปริมาณการผลิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับความต้องการในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ดังนั้น การกลับเข้าสู่ตลาดผู้ผลิตผู้ส่งออกน้ำมันของอิหร่านในครั้งนี้ จึงนับว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการดึงราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นในปัจจุบันให้ลดลงสู่ระดับที่ไม่ตรึงจนเกินไป ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ว่าปัจจุบันอิหร่านผลิตน้ำมันได้ในปริมาณ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยในจำนวนนี้อิหร่านส่งออกประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันท่มกลางการค่ำบาตรของสหรัฐฯ ซึ่งก่อนการค่ำบาตรของสหรัฐฯ อิหร่านมีศักยภาพในการผลิตสูงถึง 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ในขณะที่ผลของการเจรจาโครงการนิวเคียร์ฯ ยังไม่สิ้นสุด กระทรวงน้ำมันของอิหร่านก็ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือหลากหลายฉบับกับบริษัทเอกชนภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานโดยรวมและขยายโครงการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ แน่นอนอิหร่านต้องการเม็ดเงินลงทุนและความเชี่ยวชาญจากต่างชาติ แต่ในสถานการณ์เช่นนี้อิหร่านไม่อยู่ในสถานะที่จะต้องมานั่งรอผลของการเจรจาซึ่งจะนำไปสู่การปลดล็อคด้านการลงทุนของต่างชาติในอิหร่านได้ต่อไปอีกแล้ว ความเสียหายและการถดถอยของเศรษฐกิจอิหร่านในช่วง 4 – 5 ปีที่ผ่านมาคือปัจจัยหลักที่ต้องเร่งแก้ไขภายใต้การเข้ามาบริหารงานของรัฐบาลชุดใหม่ ที่ผ่านมากรทรวงน้ำมันอิหร่านได้ลงนามสัญญาความร่วมมือไปแล้ว 8 ฉบับ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 1.2 พันล้านเหรียญฯ โดยเป็นเงินจากกองทุนเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ หรือ the National Development Fund (NDF) ทั้งนี้ อิหร่านมีเป้าหมายในการแปรรูปวัตถุดิบด้านพลังงานเหล่านี้ไปสู่สินค้ามูลค่าเพิ่มเพื่อการส่งออก แทนที่การส่งออกในรูปแบบวัตถุดิบดังที่เคยเป็นมาเพียงอย่างเดียว โดยให้ความสำคัญกับภาคปิโตรเคมีเป็นหลัก

ความเห็น

ภายใต้การรอคอยผลสรุปของการเจรจาโครงการนิวเคียร์รอบที่ 8 ระหว่างอิหร่านกับสหรัฐฯ ที่ดำเนินการผ่านกลุ่มประเทศพันธภาคี P+5 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งน่าจะเป็นรอบสุดท้ายเพราะรอเพียง Political Decision จากสหรัฐฯ ว่าจะยอมรับเงื่อนไขในการกลับเข้าสู่ข้อตกลง JCPOA ตามที่อิหร่านเสนอหรือไม่ ซึ่งยังคงเหลือเงื่อนไขที่สำคัญ 2 ประเด็น คือ 1) สหรัฐฯ จะต้องยกเลิกมาตรการแซงชนทั้งหมดที่เกิดขึ้นสมัยประธานาธิบดีทรัมป์ที่ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานิวเคียร์ของอิหร่าน และ 2) สหรัฐฯ จะต้องให้การรับรองว่าในอนาคตสหรัฐฯ จะไม่ออกจากข้อตกลงดังกล่าวอีกไม่ว่าพรรคใดจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็ตาม ก็ได้มีความเคลื่อนไหวมาเป็นระยะ ๆ ว่ากลุ่มประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านได้เริ่มเข้ามาเจรจาหารือแนวทางการนำเข้านำมันที่น่าจะเกิดขึ้นหลังการเจรจาโครงการนิวเคียร์ฯ สินค้าสุดลงแล้ว โดยเฉพาะลูกค้ารายใหญ่จากเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลีใต้ ที่ก่อนหน้านำเข้าน้ำมันจากอิหร่านประมาณ 3 – 6 แสนบาร์เรลต่อวัน ในส่วนของจีนที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดปัจจุบันก็นำเข้าจากอิหร่านอย่างต่อเนื่องอยู่แล้วไม่ต่ำกว่า 3 แสนบาร์เรลต่อวัน ดังนั้น จากสัญญานการเคลื่อนไหวข้างต้นจึงเป็นที่คาดการณ์กันว่าอิหร่านและสหรัฐฯ จะสามารถตกลงและยอมรับเงื่อนไขการกลับเข้าสู่โครงการนิวเคียร์อิหร่านได้ในเร็ว ๆ วันนี้อย่างแน่นอน โดยมีแรงเร่งจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ เป็นหลัก

ที่มาข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน (มีนาคม 2565)

_____________________________________________
Website : http://ditp-overseas.com
Facebook: https://www.facebook.com/ditpoverseas
Youtube : https://bit.ly/36fT76e

#DITP #OMD2 #สพต2