
ลิเทียม กำลังจะเวทีประลองกำลังใหม่ของบรรดาผู้ผลิตยานยนต์ที่พยายามจะเอาชนะในตลาดยานยนต์พลังงานไฟฟ้า โดย General Motors (GM) ประกาศว่าจะลงทุน 650 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกิจการพัฒนาแหล่งแร่ลิเทียม Lithium Americas (LAC) ในรัฐเนวาดา ซึ่งเหมืองแห่งนี้รู้จักกันในนาม Thacker Pass มีแผนจะเริ่มกระบวนการผลิตแร่ลิเทียมประมาณครึ่งหลังของปี 2026 โดยเงินลงทุนของ GM จะถูกแยกเป็น 2 ส่วนและจะขึ้นอยู่กับ LAC ว่าจะทำตามเงื่อนไขได้หรือไม่
ยอดการลงทุนของ Thacker Pass น่าจะพอๆ กับที่ GM จะต้องใช้เพื่อให้บรรลุเป้าในการผลิตยานยนต์พลังไฟฟ้า (EV)จำนวน 1 ล้านคันในพื้นที่อเมริกาภายในกลางทศวรรษนี้ ซึ่งการหาแหล่งผสิตวัตถุดิบและส่วนประกอบในการผลิต EV ที่สำคัญมากๆ จากภายในภูมิภาคอเมริการเหนือเองและประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ทำให้ผู้ผลิต EV มีห่วงโซ่อุปทานที่มั่นคง ช่วยให้กำหนดราคาได้ง่ายและสร้างงานได้มากด้วย
นอกจากความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานแล้ว การหาแหล่งวัตถุดิบและการผลิตภายในภูมิภาคนี้เองยังมีความสำคัญต่อผู้ผลิต EV ในอีกแง่หนึ่งด้วย นั่นคือ เครดิตภาษีในการจัดซื้อ ซึ่งหนึ่งในเงื่อนไขของกฎหมาย Inflation Reduction Act ที่เพิ่งจะผ่านออกมาไม่นานนี้ ก็คือต้องใช้แหล่งและมีการแปรรูปวัตถุดิบภายในภูมิภาคเองข้อกำหนดให้ผลิตภายในท้องถิ่นนับวันจะยิ่งเขม็งเลียวแน่นขึ้น
ราคาหุ้นของ LAC สูงขึ้นร้อยละ 14.8 และราคาหุ้นของ GM เองก็ขยับขึ้น ร้อยละ 7.2 ทั้งนี้ ก็เพราะนอกจากที่ได้ลงทุนใน LAC แล้ว GM ยังได้ประกาศว่ามีกำไรสะสมเมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่ 4 และประเมินแนวโน้มทางการเงินในปี 2023 ได้สูงกว่าที่ตลาดและนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ด้วย
ไม่ได้มีเพียง GM เท่านั้นที่ พยายามหาแหล่งผลิตแร่ลิเทียมที่มั่นคง Tesla ก็ได้มีสัญญากับPiedmont Lithium เพื่อเป็นแหล่งแร่ลิเทียมให้ในภูมิภาคนี้ และยังวางแผนจะตั้งโรงงานถลุงแร่ลิเทียมเองในรัฐเทกซัสอีกด้วย
แร่ลิเทียมนั้นจะต้องผ่านกระบวนการถลุงก่อนจะส่งเข้าไปยังโรงงานผลิตคาโถดแบตตารี คาโถดคือ องค์ประกอบชีกหนึ่งของแบตตารีที่ช่วยให้ทำให้เกิดการซาร์จไฟฟ้าได้ ส่วนอีกซีกหนึ่งเรียกว่า อาโนด ซึ่งผู้ผลิตแบตตารีนั้นจะต้องซื้อวัตถุดิบที่ใช้ผลิตคาโถดเพื่อปรรูปให้เป็นแบตตารีแบบลิเทียม-ไอออนที่สามารถชาร์จไฟฟ้าใหม่ได้
ผู้ผลิตยานยนต์หลายรายได้ร่วมมือกับผู้ผลิตแบตตารีสร้างโรงงานอยู่ใกล้ๆ กับโรงงานประกอบ EVโดย GM นั้นร่วมกับ LG Energy Solutions ในการเพิ่มกำลังการผลิตแบบตารีภายในท้องถิ่น ในปัจจุบันนี้ผู้ผลิตยานยนต์ต่างก็พากันวางยุทธศาสตร์ย้อนกลับขึ้นไปยังส่วนต้นน้ำของห่วงซ่อุบทานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าโรงงานแบตตารีจะมีวัตถุดิบที่ต้องการอย่างพอเพียงในราคาที่เหมาะสมด้วย