ในปีใหม่ที่กําลังจะมาถึงรัฐอิลลินอยส์จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายใหม่หลายฉบับ โดยหนึ่งในกฎหมายที่กําลังเป็นที่สนใจจับตามอง และมีผลต่อแรงงานในอุตสาหกรรมการบริการรวมถึงกลุ่มผู้บริโภคในสหรัฐฯ คือ การเริ่มบังคับใช้
กฎหมายห้ามใช้ถุงมือยางลาเท็กซ์ (Latex Gloves) ซึ่งผลิตจากวัสดุยางจากธรรมชาติในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจบริการอาหาร (Food Service) และกลุ่มอุตสาหกรรมการบริการทางการแพทย์ (Health Care) โดยกฎหมายดังกล่าวจะเริ่มบังคับใช้ในกลุ่มผู้ให้บริการอาหารและกลุ่มผู้ให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Services หรือ EMS)ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 และกลุ่มผู้ให้บริการทางการแพทย์ทั่วไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567

ทั้งนี้ ถุงมือยางเป็นอุปกรณ์สําหรับการป้องกันเชื้อโรค การรักษาความสะอาดและสุขอนามัย ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจบริการอาหารและอุตสาหกรรมการบริการทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสสิ่งของและวัตถุต่างๆ บ่อยครั้งซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนหรือการติดเชื้อได้ง่าย ในอดีตถุงมือยางมักจะผลิตด้วยวัสดุลาเท็กซ์เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีชาวอเมริกันที่แพ้สารประกอบในผลิตภัณฑ์ลาเท็กซ์มากขึ้นและมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงทําให้หลายรัฐพิจารณาออกกฎหมายห้ามใช้เพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพของประชากร

เช่นเดียวกันกับรัฐอิลลินอยส์ที่ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้ผ่านร่างพิจารณากฎหมายห้ามใช้ถุงมือลาเท็กซ์ซึ่งได้รับการลงนามรับรองโดย Mr. J.B. Pritzker ผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์แล้ว โดยเจตนารมณ์หลักของ
ข้อกฎหมายฉบับนี้เพื่อปกป้องให้ประชากรในรัฐปลอดภัยจากอาการแพ้สารประกอบในผลิตภัณฑ์ลาเท็กซ์และเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชากรภายในรัฐด้วย ซึ่งปัจจุบันมีประชากรในรัฐอิลลินอยส์หลายพันรายมีอาการแพ้สารจากผลิตภัณฑ์ลาเท็กซ์อีกทั้ง การใช้หรือสัมผัสผลิตภัณฑ์จากลาเท็กซ์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานในกลุ่มผู้ที่ไม่มีอาการแพ้ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ในอนาคตด้วย

อาการแพ้สารจากผลิตภัณฑ์ลาเท็กซ์สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการสัมผัสผลิตภัณฑ์จากลาเท็กซ์โดยตรง เช่น การใช้ถุงมือยางในการจัดเตรียมหรือจัดอาหาร และการรับประทานอาหารที่สัมผัสผลิตภัณฑ์ลาเท็กซ์ด้วย โดยอาการแพ้สารในผลิตภัณฑ์ลาเท็กซ์มีตั้งแต่อาการแพ้เล็กน้อย เช่น ระคายเคือง บวม แดง แสบ คัน เกิดตุ่มน้ํา ไปจนกระทั่งอาการแพ้ที่รุนแรงที่อาจจะกระทบต่อระบบหายใจถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้

อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวยังได้เปิดช่องให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมธุรกิจบริการอาหารสามารถใช้ถุงมือยางลาเท็กซ์ได้ในกรณีที่เกิดการขาดแคลนไม่สามารถหาถุงมือยางที่ผลิตจากวัสดุทดแทนอื่นได้ในตลาด โดย
กําหนดให้ผู้ประกอบจะต้องติดป้ายเตือนแก่พนักงาน และผู้บริโภคบริเวณที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการใช้ถุงมือลาเท็กซ์ในการให้บริการ ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีมาตรการในการตักเตือนและลงโทษผู้ประกอบการ

ภาพรวมตลาดถุงมือยางในสหรัฐฯ

  1. ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคม 2565 สหรัฐฯ มีความต้องการนําเข้าสินค้าถุงมือยางเป็นมูลค่าทั้งสิ้น
    810.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลงลงร้อยละ 91.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์การแพร่
    ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ในสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นทําให้มีความต้องการใช้ถุงมือยางและสินค้าสําหรับการป้องกันการ
    แพร่ระบาดลดลง
  2. แหล่งนําเข้าสินค้าถุงมือยางที่สําคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ มาเลเซีย (ร้อยละ 37.92) ไทย (ร้อยละ 36.24) จีน
    (ร้อยละ 10.59) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 5.89) ศรีลังกา (ร้อยละ 3.86) เวียดนาม (ร้อยละ 2.62) กัวเตมาลา (ร้อยละ 0.81)
    เม็กซิโก (ร้อยละ 0.34) แคนาดา (ร้อยละ 0.32) และไต้หวัน (ร้อยละ 0.31) ตามลําดับ
  3. ไทยมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าถุงมือยางสูงเป็นอันดับที่ 2 ในตลาดสหรัฐฯ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 293.93 ล้านดอลลาร์
    สหรัฐ หรือหดตัวลงร้อยละ 78.62 อย่างไรก็ตาม ถือว่าอยู่ในระดับดีกว่าคู่แข่งที่สําคัญในตลาด เช่น จีน มาเลเซีย และ
    อินโดนีเซีย ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 96.71 ร้อยละ 93.80 และร้อยละ 82.85 ตามลําดับ
  4. ปัจจัยด้านการแพ้สารในผลิตภัณฑ์ลาเท็กซ์ที่สูงขึ้นในปัจจุบันทําให้ผู้ประกอบและผู้บริโภคในสหรัฐฯ หันไป
    เลือกใช้ถุงมือยางจากวัสดุทดแทนที่มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน ยืดหยุ่นได้ใกล้เคียงกับยางธรรมชาติมากขึ้น เช่น สาร
    Nitrile สาร Poly Ethylene และสาร Vinyl เป็นต้น