แทนซาเนียมีความหวังว่า การขนส่งสินค้าทั้งภายในประเทศและการขนส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านจะมีค่าการขนส่งที่ถูกลงเมื่อการสร้างทางรถไฟขนาดมาตรฐานกว้าง (Standard Gauge Railway-SGR) แล้วเสร็จภายในปีพ.ศ. 2570 หลังจากบริษัทผู้รับเหมาสองรายใหญ่จากจีนได้ลงนามในข้อตกลงก่อสร้าง ระบบรางรถไฟของโครงการในเฟสสุดท้ายของการก่อสร้าง

โดยบริษัท China Civil Engineering Construction Corporation (CCECC) และ China Railway Construction Company (CRRC) ผู้รับเหมาทั้งสองบริษัทนี้จธดำเนินการก่อสร้างช่วงสุดท้ายของรางรถไฟเป็นระยะทาง 506 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางรถฟนี้จะเชื่อมต่อระหว่าง ท่าเรือดาร์ เอส ซาลาม ของแทนซาเนีย กับประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทางด้านตะวันตกของประเทศ เช่น บุรุนตี และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โดยประธานาธิบดีแทนซาเนียกล่าวว่าเมื่อโครงการสร้างรางรถฟเสร็จสิ้น ประเทศแทนซาเนียจะเป็นที่ตั้งอย่างดีในการใช้ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์เชิงกลยุทธ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าข้ามพรมแทน แม้ว่าทางรัฐบาลแทนชาเนียจะต้องเผชิญกับคำวิจารณ์มากมายเกี่ยวกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มมากขึ้นจากโครงการสร้างทางรถไฟทั้งระบบ (2,561 กม.) นี้ ซึ่งใช้งบประมาณถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (10.04 พันล้านแทนซาเนียนชิลสิ่ง) รวมถึ.สัญญาฉบับล่าสุด แต่ท้ายที่สุดหนิสินและความเจ็บปวดในวันนี้ จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อชาวแทนชาเนียในวัน

ข้างหน้า ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญนี้บวกกับโครงการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านอื่นๆ จะทำให้ประเทศพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น

จากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่ทางรถฟสายใหม่นี้จะช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้า ยกตัวอย่างเช่น การขนส่งสินค้าจาก ท่าเรือดาร์ เอส ซาลาม ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จากเดิมราคาขนส่งขั้นต่ำที่ 6,000 เหรียญสหรัฐ ต่อตัน เหลืออยู่ที่ประมาณ 4,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อทางรถไฟเปิดใช้งานเต็มรูปแบบรวมทั้งระยะเวลาในการขนส่งจะลดลงจาก 30 วัน ทางรถบรรทุก เหลือเพียง 30 ชั่วโมง (หรือเพียง 1.50 วัน) ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจของแทนซาเนียและประเทศเพื่อนบ้านพัฒาอย่างรวดเร็วได้เป็นอันมาก

เส้นทางเดินรถไฟตั้งกล่าวมีระยะทาง 2,561 กิโลเมตร เป็นเครือข่ายทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงท่เรือดาร์ เอส ซาลาม กับ เมืองมวันซา (Mwanza) ที่ตั้งอยู่บริเวณแนวทะเลสาบวิคตอเรีย และไหลลงสู่บุรุนดี สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก รวันดา และยูกันดาในท้ายที่สุด โดยระยะทางของเส้นทางรถไฟที่มีก่อสร้างระยะสุดท้ายนี้ มีระยะทางทั้งสิ้น 506 กิโลเมตร เดินรถจาก Tabora ถึง Kigoma และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2569 เป็นเวลา 9 ปีหลังจากแทนซาเนียเริ่มเปิดเปิดตัวโครงการทางรถฟสายนี้เมื่อปี 2560

ทั้งนี้ นาง ซาเมีย ซูลูฮู ฮัสชัน ประธานาธิบดีแทนซาเนีย ได้กลายมาเป็นผู้นำแอฟริกันคนแรกที่ได้เข้าพบประธานาธิบตี สี จิ้นผิง ผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ กรุงปักกิ่ง ภายหลังจีนประกาศเริ่มต้นการ

สานสัมพันธ์ Belt and Road Initiative กับแทนซาเนีย และยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เฉกเช่นเดียวกับ เคนยา และเอธิโอเปีย จากหลายประเทศในภูมิภาคนี้ที่มีความสัมพันธ์ในระดับนี้กับประเทศจีน

บริษัทรับเหมาก่อสร้างตังกล่าวข้างต้นทั้งสองบริษัทนี้ จะร่วมกันก่อสร้างทางเดินรถไฟรวมระยะทาง 754 กิโลเมตร รวมถึงการก่อสร้างระยะที่ห้าเป็นระยะทาง 248 กิโลเมตร จาก Isaka ถึง Mwanza ตามที่ไต้ระบุไว้ในสัญญาเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา และอาจเป็นเส้นทางเดินรถไฟที่ยาวที่สุดในแอฟริกา ส่วนการก่อสร้างอื่นที่ครอบคลุมระยะทาง 1,275 กิโลเมตร กำลังดำเนินการก่อสร้งโดยบริษัท Yapi Merkcz ของประเทศทูร์เคีย (Tunkiye) โดยความร่วมมือกับบริษัท Mota-Engil Afica ของประเทศโปรตฺเกส โดยก่อนหน้านี้ แทนซาเนียได้พึ่งพาทางรถฟเก่าอยู่สองเครือข่ายหลักคือ เครือข่ายเชื่อมต่อกับแซมเบีย และอีกหนึ่งเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่อกับเคนยา และยูกันตา

กรรมการบริหารของ Tanzania Railway Corporation กล่าวทิ้งท้ายว่า การสร้างทางรถไฟเฟสแรกจากดาร์ เอส ชาลาม ไปยัง โมโรโกโร คืบหน้าไปร้อยสะ 97.67 แล้ว ส่วนระยะก่อสร้างในเฟสอื่นๆ อย่างเช่น โมโรโกโร ไปยังมากูทูโปรา คืบหน้าไปร้อยละ 81.32 เส้นทาง มากูทูโปรา ไปยัง ทาโบรา คืบหน้าไปร้อยละ 3.26 เส้นทางทาโบรา ไปยัง ไอซากา คืบหน้าร้อยละ 0.49 และไอซากาไปยังมวันซาคืบหน้าร้อยละ 19.70 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีหัวรถจักรที่ใช้ในการเดินรถ จำนวน 17 หัว เส้นทางในประเทศที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเริ่มการเดินรถไฟในเส้นทางที่ก่อสร้างแล้วเสร็จได้ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีนี้ (2566) และจะมีตู้สำหรับบรรทุกและขนส่งสินค้าถึง 1,430 ตู้จากประเทศจีนจะพร้อมให้บริการในเดือนกันยายน 2566 ซึ่งมีมูลค่าโดยรวม 557.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

ความเห็นของ สคต. การก่อสร้างเส้นทางรถไฟของแทนซาเนีย จะเป็นก้าวสำคัญที่แทนซาเนีย อาจจะแซงหน้าเคนยาขึ้นเป็นผู้นำด้านการขนส่งสินค้าในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกได้ในอนาคต อันเนื่องจากว่า เส้นทางรถไฟของแทนซ่าเนียมีความก้าวหน้าในการก่อสร้างที่เร็วกว่าการก่อสร้างของเคนยา ประกอบกับแทนซาเนียมีเส้นทางรถไฟที่สามารถเชื่อมการค้ากับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยอาจมีการก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางรถไฟสาย แทนชาเนีย – แซมเบีย ที่สามารถขนส่งสินค้าไปยังแอฟริกาใต้ในอนาคตอีกด้วย ซึ่งหากเป็นดั่งกล่าว ค่าขนส่งสินค้าจากแทนซาเนียไปสูประเทศเพื่อนบ้านก็จะมีต้นทุนที่ลดลงกว่า 30-40% จากที่กล่าวไว้ในข้างต้น ซึ่งจะทำให้แทนชาเนียจะเป็นประทศที่มีความน่าสนใจในการค้าและการลงทุนในอนาคตมากกว่าเคนยาก็เป็นไปได้แทนซาเนียมีความมั่นคงทางอาหารมากกว่าคนยา โดยเฉพาะมีกรพัฒนาในการปลูกข้าวจนสามารถผลิตได้กับความต้องการภายในประเทศ และเริ่มมีการส่งออกไปยังประเทศเคนยา ยูกานดา และประเทศอื่นๆในแอฟริกาตะวันออก ซึ่งหากเส้นทางรถฟนี้แล้วเสร็จในอีก 5 ปี การส่งออกข้าวหรือสินค้าทางการเกษตรอื่น เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน ข้าวโพด เป็นต้น จะยิ่งมีความเป็นไปได้อย่างไม่ต้องสงสัยอีกต่อไป นอกจากนั้น หากพิจารณาพื้นที่เพาะปลูกและแหล่งทรัพยากรน้ำแล้ว แทนซาเนียถือว่ามีความพร้อมจะก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกอาหารและสินค้าเกษตรในแอฟริการายสำคัญต่อไปในอนาคต ซึ่งเราคงต้องจับตากันต่อไปสำหรับประเทศไทยนั้น มีหลายประเด็นที่เราควรจับตาแทนซาเนีย

ประการแรก แทนซาเนียมีแนวโน้มจะก้าวขึ้นเป็นคู่แช่งสำคัญในการส่งออกข้าวแข่งขันกับไทยได้ในอนาคตอันใกล้จะเห็นได้จากการส่งออกข้าวของแทนชานียไปยังเคนยานั้น มีการขยายตัวมากถึงร้อยละ 30-40 ต่อปี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และคุณลักษณะของข้าวจากแทนซานียก็มีความคล้ายคลึงกับข้าวขาวของไทยเป็นอันมาก แต่ราคาที่ถูกกว่าข้าวไทยในปัจจุบันถึงร้อยละ 30 หากระบบการขนส่งสินค้าด้วยระบบรถไฟของแทนซาเนียสมบูรณ์ เกรงว่าไทยจะไม่สามารถแข่งขันกับแทนชาเนียในการส่งออกข้าวมายังแอฟริกาตะวันออกและอาจรวมถึงประเทศในแอฟริกาประเทศอื่นด้วย

ประการที่สอง การพัฒนาด้านการเกษตรของแทนชาเนียนั้น น่าจะมีความต้องการของสินค้าเครื่องจักรทางการเกษตรจากไทยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ผู้ส่งออกไทยในสินค้าดังกล่าว ควรเร่งการทำตลาดและหาแนวทางการลงทุนร่วมกับบริษัทในแทนซาเนียในการส่งออกหรือผลิตสินค้าดังกล่าวให้มากขึ้น โดย สคต. มองว่า ผู้ประกอบการในสินค้านี้ ควรเริ่มมองหาลู่ทางการลงทุนในแทนซาเนียแทนการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปมาแทนซาเนียให้มากขึ้น เพราะหากข้อตกลงการค้าเขตเสรีการค้าแอฟริกามีผลในอนาคตในอีก : ปีต่อจากนี้ การแข่งขันด้านราคาในสินค้าตังกล่าวก็จะยิ่งทำให้ไทยส่งสินค้ามายังแทนซาเนียมากขึ้นตามไปด้วย

ประการที่สาม แทนซาเนีย เป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเป็นศูย์การขนส่งสินค้าในแอฟริกาตะวันออกมากกว่าหรือเท่าเทียมกับเคนยา โดยท่นควรมองแทนชานียเป็นศูนย์กลางในการส่งสินค้าไปยังประเทศผ่านเส้นทาง Central Coridor (เช่น บูรันดี วันดา สป.คองโก แชมเบีย) และเคนยาเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในเส้นทาง Northern Coridor (เช่น ยูกานดา ซูดานใต้ สป.คองโก เอธิโอเปีย) ซึ่งต้นทุนในแต่ละเส้นทาง และประเทศหรือเมืองปลายทางที่ท่านจะขนส่งสินค้าไปนั้น จะเป็นตัวตัดสินว่าท่านควรเลือกใช้ท่าเรือของประเทศใดในการกระจายสินค้า

ประการที่สี่ แทนชาเนีย มีศักยภาพที่อาจจะเป็นศูนย์กลางในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในแอฟริกา ด้วยมีความอุดมสมบูรณ์ของผลิตการเกษตรที่มีหลายอย่าง เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน ข้าว ปศุสัตว์ ถั่วเม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน เริ่มมีนักลงทุนจากมาเลเซีย อินเตีย หรือ จีนเข้ามาร่วมทุนกับแทนชาเนียในการผลิตสินค้าแปรรูปจากสินค้าทางการเกษตรดังกล่าวแล้ว ประเทศไทยหรือผู้ส่งออกไทย ควรศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนในแทนชาเนียในอนาคตต่อไป เพื่อไม่ให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสทางการค้าดังกล่าวได้ ซึ่งใช้แทนชาเนียเป็นฐานการผลิตสินค้าแปรรูปทางการเกษตรเพื่อการส่งออกไปยังตลาดอื่นนั้น จะได้รับสิทธิประโยชน์จาก Eบ และสหรัฐในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดตังกล่าวโดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า (GSP) ซึ่ง สคต. เห็นว่า หากไทยละเลยในประเด็นดังกล่าวแล้ว คาดว่าอีก 5-10 ปี ข้างหน้าไทยอาจต้องพบกับสินค้าที่มาจากแทนซาเนียแข่งขันกับท่านมากขึ้นในตลาดที่ว่านี้มากขึ้นตามลำดับ จึงถึงเวลาอันเหมาะสมแล้วที่ผู้ประกอบการไทยควรมองหาโอกาสในการลงทุนในตลาดแทนซาเนียให้มากขึ้น

ผู้ส่งออกที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมต่าง ๆ เกี่ยวประเทศเคนยา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก ท่านสามารถติดต่อ
สอบถามได้ที่ E-mail: ของสำนักงานฯ ที่ info@ocanairobi.co.ke
ที่มา : The EastAfrican