เมื่อวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา บริษัท Kenya Power เปิดเผยแผนการที่จะถือครองส่วนแบ่งการตลาดหลักทรัพย์ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าผ่านการสร้างจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศและผลักดันให้ลดภาษีนำเข้าสำหรับรถยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

ผู้จัดจำหน่ายไฟฟ้ารายหนึ่ง กล่าวว่า บริษัทฯ ต้องการสร้างเครือข่ายจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะ โดยมีเป้าหมายเพื่อข้ามผ่านอุปสรรคในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเคนยา

นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลในการลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์สำหรับการสร้างจุดชาร์จไฟฟ้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลในการมีรถยนต์จดทะเบียนอย่างน้อยร้อยละ 5 ให้เป็นรถที่ไม่ใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงในอีก 5 ปีข้างหน้า (2027)

โดยรักษาการประธานบริหารของบริษัท Kenya Power นางสาว Rosemary Oduor ได้กล่าวในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัทฯ ว่า “เราได้วางแผนที่จะก่อตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ และจะใช้สถานที่ปฏิบัติงานที่เรามีอยู่แล้วในการให้บริการหลังการขาย เช่น การให้คำปรึกษาด้านเครื่องกล การบำรุงรักษาต่าง ๆ เป็นต้น

“ในฐานะผู้ให้บริการพลังงานไฟฟ้ารายเดียวของประเทศเคนยา และด้วยเป้าหมายของเราซึ่งเป็นผู้ให้บริการคำปรึกษาพร้อมหาทางออกด้านพลังงานได้ใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอเครื่องยนต์ไฟฟ้าที่มีความสำคัญมากพอในการขับเคลื่อนธุรกิจ” ทั้งนี้ปัญหาความกังวลหลัก ๆ สำหรับผู้ที่คิดจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ คือวิธีการและสถานที่ในการชาร์จไฟฟ้าให้กับรถยนต์

บริษัท Kenya Power คาดการณ์ว่าจะสามารถตั้งจุดให้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามทางหลวงสายหลัก ลานจอดรถ และในห้างสรรพสินค้า โดยมีสถานที่ปฏิบัติงานที่มีอยู่ในขณะนี้เป็นศูนย์กลางสำหรับบริการหลังการให้บริการ

การเข้าร่วมกับบริษัทผลิตไฟฟ้าเคนยา Kenya Electricity Generating Company PLC (KenGen) ซึ่งประกาศว่ากำลังลงทุนในระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ประเทศเคนยาเองได้ร่วมผลักดันการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและลดการพึ่งพาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เชิ้อเพลิงที่เป็นสินค้านำเข้ามากที่สุดของประเทศ เฉกเช่นเดียวกันกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

นักวิเคราะห์ยอมรับว่าราคารถยนต์ไฟฟ้าที่ค่อนข้างสูงนั้นจะไม่ดึงดูดผู้บริโภคชาวแอฟริกันส่วนใหญ่ แต่ได้กล่าวว่าการเพิ่มขนาดการผลิตและนโยบายของรัฐบาลที่เอื้ออำนวยอย่างเหมาะสมจะสามารถช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาถูกลงได้ “เรากำลังทำงานร่วมกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิดในการออกกฎหมายที่จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายของยานพาหนะไฟฟ้าเหล่านี้รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานของผู้ดูแลบำรุงรักษา เช่น พื้นที่จัดเก็บ และจุดให้บริการชาร์จไฟฟ้า” กล่าวโดย นางสาว Rosemary Oduor

รัฐบาลเคนยาเองได้ช่วยส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยการลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 โดยสำนักงานมารตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมของเคนยา Kenya Bureau Of Standards (KEBS) ได้ยอมรับมาตรฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน

บริษัท McKensey & Co. บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ให้แก่องค์กรธุรกิจเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในโลก ได้ประมาณการว่าในปี 2568 จะมีรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดมากกว่า 350 รุ่น ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น ผู้ผลิตที่ได้รับการยอมรับอย่างเทสลา อีกทั้งผู้ผลิตรถยนต์แบบดั้งเดิมแทบทุกรายทั่วโลกก็วางแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งธุรกิจที่อาศัยแนวคิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็กำลังสนใจและเริ่มผลิตเช่นกัน

ในปี 2562 สำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า  ธุรกิจด้านนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ประมาณ 250 ราย ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้านั้น สามารถดึงดูดเงินร่วมลงทุนจากนักลงทุนได้มากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2 ล้านล้านเคนยาชิลลิ่ง)

การขยายขนาดของธุรกิจด้านนี้จะทำให้ทั้งบริษัท Kenya Power และ Kenya Electricity Generating Company PLC (KenGen) สร้างรายได้จากเจ้าของรถที่ต้องการชาร์จไฟฟ้าให้กับรถยนต์ของตนเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ให้เหมาะกับแต่ละท้องที่ด้วยเช่นกัน

การที่ผู้บริโภคหันอาจหันมาใช้ยานพาหนะจากพลังงานไฟฟ้านั้น ได้รับแรงผลักดันมาจากประเทศแถบตะวันตก อย่างเช่น เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการลดปริมาณการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ

อย่างไรก็ตาม ราคารถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาสูง โครงสร้างพื้นฐานรองรับการชาร์จไฟฟ้ายังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ และแบตเตอร์รี่ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าหลังชาร์จไฟแล้ว ถือเป็นความท้าทายหลัก ๆ สำหรับการให้การยอมรับและเติบโตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าในประเทศแถบแอฟริกา อย่างเช่น ในประเทศเคนยา ราคาเฉลี่ยของรถยนต์ไฟฟ้าคือ 6,000,000 เคนยาชิลลิ่ง ซึ่งราคาสูงกว่ามากเมื่อเทียบกับราคารถเอนกประสงค์ประเภท Sport Utility Vehicle (SUV) มือสองที่นำเข้ามาในประเทศเคนยา รถยนต์มือสองนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศแถบตะวันออกกลางได้ตั้งราคาที่ไม่แพงมาก (ประมาณ 2,000,000-4,000,000 ล้านเคนยาชิลลิ่ง) ที่ผู้บริโภคสามารถเป็นเจ้าของได้ และความนิยมรถมือสองจากต่างประเทศนี้ได้รับความนิยมมานานหลายสิบปีแล้วในประเทศเคนยา

ปัจจุบันนี้มีการให้บริการยานพาหนะ หรือรถแท๊กซี่ไฟฟ้าผ่านทางโปรแกรมการใช้งานออนไลน์อย่างผู้ให้บริการที่ใช้ชื่อโปรแกรมว่า Nopia Ride ให้บริการโดยใช้ยานพาหนะเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้ากำลังขยายการดำเนินงานในประเทศเคนยา บริษัทฯ ได้จัดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า 3 แห่งในกรุงไนโรบี ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า Two River ห้างสรรพสินค้าThe Hub Karen และห้างสรรพสินค้า Thika Road

รถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานไฟฟ้าที่บรรจุพลังงานไว้ในแบตเตอรี่ การชาร์จไฟฟ้าจะใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง และสามารถขับขี่ได้เป็นระยะทางไกลถึง 250 กิโลเมตร

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางบริษัท Kenya Power ได้ร่วมมือกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme – UNEP) เปิดตัวโครงการจักรยานไฟฟ้าแบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าในประเทศเคนยาซึ่งเป็นโครงการนำร่องเกี่ยวกับยานพาหนะไฟฟ้า และภายใต้โครงการนี้ ผู้จัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจะได้รับจักรยานไฟฟ้าจำนวน 25 คัน เพื่อนำมาใช้ทดสอบการใช้งานรถจักรยานยนต์สองล้อในประเทศเคนยา

ความเห็น

การที่บริษัทหลายแห่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากนักลงทุนทั้งจากสหรัฐและยุโรปดังกล่าวนั้น แสดงให้เห็นว่า เริ่มมีการลงทุนในด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแล้วในเคนยาและแอฟริกา อย่างไรก็ตาม สคต.ได้วิเคราะห์แนวโน้มการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวของเคนยากับภาคการส่งออกของไทยในสินค้ารถยนต์และส่วนประกอบในช่วง 1 – 5 ปีจากนี้ สรุปได้ดังนี้

1. เคนยายังไม่น่าจะเป็นตลาดในการส่งออกสินค้ารถยนต์ EV ของไทยได้ในอีกอย่างน้อย 5 – 7 ปี เนื่องยังขาดความพร้อมหลายด้าน เช่น ไฟฟ้าที่ดับบ่อย การลงทุนสร้างที่ชาร์จไฟฟ้าที่ยังมีจำนวนน้อยมาก ความนิยมในการใช้รถยนต์มือสอง กำลังชื้อที่มีอยู่อย่างจำกัด

2. อุตสาหกรรมรถยนต์ของเคนยา ยังมีความห่างไกลในความเป็นไปได้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ เนื่องจาก ขาดทั้งเงินทุน เทคโนโลยี ทักษะความชำนาญของแรงงาน ซึ่งน่าจะใช้เวลาในการพัฒนาอีกมาก ในส่วนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการประกอบรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ในปี 2030 นั้น สคต. เห็นว่า น่าจะต้องใช้เวลามากกว่านั้น อย่างน้อย 5 ปี เนื่องจาก สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน

3. ประเทศไทยอาจพิจารณาความเป็นไปได้ในการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้ามือสอง หลังจากที่มีการใช้งานในประเทศไทยแล้ว 5 ปี มาส่งออกมายังประเทศเคนยาได้ ในอนาคต เนื่องจาก สคต. พิจารณาว่า ในอีก 5-7 ปีต่อจากนี้ น่าจะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นในตลาดโลกแล้ว ทำให้ราคารถยนต์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มีราคาที่ลดลงจากปัจจุบัน เพื่อให้คนเคนยาสามารถเข้าถึงสินค้าดังกล่าวได้ง่ายขึ้น เนื่องจาก สคต. เห็นว่า ราคาของรถยนต์ดังกล่าวยังมีราคาสูงกว่าราคารถยนต์ทั่วไปที่คนเคนยานิยมใช้มาก (ราคาปัจจุบันเท่ากับซื้อรถยนต์มือหนึ่งใหม่ในประเทศเคนยา)

ที่มาข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงไนโรบี (ธันวาคม 2564)

_____________________________________________
Website : http://ditp-overseas.com
Facebook: https://www.facebook.com/ditpoverseas
Youtube : https://bit.ly/36fT76e

#DITP #OMD2 #สพต2