It is a long established fact that a reader will be distracted by the readable content of a page when looking at its layout.
ธนาคารกลางไนจีเรียรายงานว่าระหว่างปี 2010 ถึง 2020 ชาวไนจีเรียใช้เงินทั้งสิ้น 39.66 พันล้านดอลลาร์ไปกับการศึกษาและใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพในต่างประเทศซึ่ง เงินจำนวนมากที่ใช้ในต่างประเทศดังกล่าวเทียบเท่ากับมูลค่าทุนสำรองต่างประเทศของไนจีเรียซึ่งมีจำนวน 39.51 พันล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน และตามรายงานฯ ค่าใช้จ่ายจำนวนมากไปกับการศึกษาและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนั้นได้เพิ่มความต้องการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ในประเทศอย่างมากซึ่งทำให้มูลค่าของสกุลเงิน ไนร่าต่อเงินดอลลาร์ผันผวนมีการเพิ่มขึ้นและลดลงกับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศที่แข็งแกร่งซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศโดยเฉพาะสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินไนร่าไนจีเรียนั้นพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงซึ่งมีอุปสงค์ที่หลากหลาย เช่น ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศ และค่าการนำเข้าสินค้าจำนวนมากจากต่างประเทศ เป็นต้นซึ่งจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศจำนวนมากและย่อมมีผลกระทบสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นและลดลงของมูลค่าสกุลเงินท้องถิ่นไนร่าของไนจีเรีย
รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของไนจีเรียได้กล่าวไว้ว่าเหตุผลสำคัญที่ชาวไนจีเรียเดินทางไปใช้บริการทางการแพทย์หรือการรักษาพยาบาลดูแลสุขภาพในต่างประเทศเนื่องจากชาวไนจีเรียสูญเสียความมั่นใจในระบบสุขภาพของประเทศที่การให้บริการในโรงพยาบาลไม่ดีพอ การขาดอุปกรณ์และความเชี่ยวชาญทางเทคนิคทางการแพทย์ก็มีส่วนทำให้มีการเดินทางไปใช้บริการในต่างประเทศ รวมทั้งทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์มีส่วนอยู่มาก นอกจากนี้ หน่วยงานขององค์การอนามัยโลกภาคบริการด้านสุขภาพของไนจีเรียได้กล่าวถึงภาคบริการด้านสุขภาพของไนจีเรียได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบหลายประการ เช่น ขาดการประสานงานของภาครัฐและเอกชน ขาดการวางแผนโดยขึ้นอยู่กับความต้องการในการประมาณการของบุคลากรจึงส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพบางประเภทมีการผลิตมากเกินไป สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจต่ำ และผลงานต่ำกว่ามาตรฐานโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท เป็นต้น
อนึ่ง รัฐบาลกลางไนจีเรียพยายามอย่างเต็มที่ในการปรับปรุงภาคบริการด้านสุขภาพในลักษณะการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล การเข้าถึงได้และความเท่าเทียมกันในการรับประกันการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมสำหรับพลเมืองทุกคน การเพิ่มขีดความสามารถเพื่อเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินด้านสุขภาพและฟื้นฟูความเชื่อมั่นของพลเมืองในระบบการรักษาพยาบาลเพื่อลดการเดินทางไปรับบริการการดูแลรักษาหรือการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหรือเชิงการแพทย์ในต่างประเทศ
ข้อมูลเพิ่มเติม/ข้อคิดเห็น
1. เห็นได้ชัดว่าภาคบริการการดูแลสุขภาพของไนจีเรียต้องการเงินทุนที่เพียงพอเพื่อแข่งขันกับคู่ค้าในต่างประเทศ ดึงดูดการลงทุนและรับการสนับสนุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ไนจีเรียยังต้องพยายามสร้างแรงจูงใจให้กับแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อสกัดกั้นสมองไหลของบุคคลดังกล่าวในการเดินทางออกนอกประเทศเพื่อแสวงหาสภาพการทำงานที่ดีขึ้นในต่างประเทศ
2. ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านงานบริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหรือการแพทย์ชาวไนจีเรียเป็นอย่างมากโดยในช่วงก่อนการแพร่ระบาดใหญ่ มีชาวไนจีเรียซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้าไทยหลายรายเดินทางมาใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนที่มีชื่อเสียงของไทยและกล่าวชื่นชมการให้บริการที่ประทับใจ รวมทั้งอยากร่วมลงทุนดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลกับผู้ประกอบการไทยที่ประเทศไนจีเรีย
ที่มาข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงอาบูจา (มีนาคม 2565)
_____________________________________________
Website : http://ditp-overseas.com
Facebook: https://www.facebook.com/ditpoverseas
Youtube : https://bit.ly/36fT76e
#DITP #OMD2 #สพต2