แม้ว่าธนาคารกลางจะใช้ความพยายามในการต่อสู้กับสภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทําให้แรงกดดันด้านราคามีการผ่อนคลายลงในช่วงปลายปีนี้แต่ถึงกระนั้นธุรกิจในสหรัฐฯและยุโรปต่างมีความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกอาจจะเกิดความสั่นคลอนและเข้าสู่สภาวะถดถอย เนื่องจากอุปสงค์ความต้องการสินค้าในครัวเรือนเริ่มมีการปรับตัวลดลงทั่วโลกอีกทั้งโรงงานและธุรกิจได้มีการปรับลดการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ช่วยลดความกดดันในระบบห่วงโซ่อุปทาน ทําให้สินค้ามีราคาลดลงและการค้าโลกเกิดการชะลอตัวการลดแรงกดดันด้านราคาเกิดขึ้นเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และธนาคารกลางทั่วโลกได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่คุกคามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1980 เพื่อทําให้อัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวลดลง ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อประจําเดือนพฤศจิกายนของสหรัฐฯ อยู่ที่ 7.1% และอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 4.25-4.50% ถือเป็นการปรับขึ้นในระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี

ข้อมูลการสํารวจตัวเลขกิจกรรมทางธุรกิจของ S&P Global ในเดือนธันวาคมแสดงให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในตลาดที่พัฒนาแล้วโดยเฉลี่ยแล้วลดลง ซึ่งเป็นการลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลก ปี 2551 สําหรับตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Composite PMI Index) ของภาคการผลิตและบริการสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมมีการหดตัวมาอยู่ที่ 44.6 ทั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 46.4 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวได้ส่งสัญญาณถึงการหดตัวของภาคเอกชน อย่างไรก็ดีหากไม่รวมช่วงการระบาดครั้งแรก การหดตัวครั้งนี้ถือเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี2552 ทั้งผู้ผลิตและผู้ให้บริการต่างรายงานว่ามีการลดปริมาณผลผลิตลงและธุรกิจมีการชะลอตัวอย่างมาก คําสั่งซื้อสําหรับการส่งออกมีการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน การจ้างงานภาคเอกชนเติบโตในอัตราชะลอตัวและปริมาณงานในมือของแรงงานมีการลดลง ความเชื่อมั่นทางธุรกิจอยู่ในกลุ่มที่อ่อนแอที่สุดในรอบ 2 ปีเนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อและการชะลอตัวของเศรษฐกิจในวงกว้างข้อมูลการสํารวจดังกล่าวได้บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มเศรษฐกิจที่สําคัญ 5 ประการในตลาดที่พัฒนาแล้ว เมื่อเทียบกับช่วงเวลานี้ของปีที่แล้ว ดังนี้ประการแรก ผลผลิตที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดหลังจากเกิดวิกฤตโควิด ส่งผลให้ปริมาณการผลิตในปัจจุบันลดลงสู่ภาวะถดถอยที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกหากไม่นับรวมช่วงเดือนแรกๆ ของการระบาด โดยภาคการผลิตมีการปรับตัวลดลงเพื่อให้สอดคล้องกับอุปสงค์ที่มีแนวโน้มลดต่ําลงประการที่สอง ความต้องการสินค้าและบริการในช่วงปลายปี2564 ที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งภายหลังจากวิกฤตการระบาดของโควิด ทําให้ปัจจุบันความต้องการสินค้าเริ่มชะลอตัวลงและมีแนวโน้มลดลงอีก โดยปัจจัยสําคัญในการที่อุปสงค์ลดลงครั้งนี้ เนื่องมาจากค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น ประกอบกับ วิกฤตพลังงานราคาสูง (เชื่อมโยงกับสงครามยูเครน) และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นประการที่สาม การขาดแคลนวัตถุดิบและแรงงานอย่างไม่เคยปรากฏมาในช่วงที่มีโรคระบาดของโควิดส่งผลให้สินค้าขาดแคลน ซึ่งที่ผ่านมา ภาคการผลิตได้เร่งกําลังการผลิต จนเกิดอุปทานส่วนเกินและมีสินค้าคงคลังคงค้างอยู่มาก ทั้งนี้ พบว่าบริษัทส่วนใหญ่ได้รายงานถึงความจําเป็นในการลดสินค้าคงคลัง เนื่องจากการสะสมของสินค้าคงคลัง ส่วนเกินทําให้บริษัทไม่สามารถทํากําไรได้ตามที่คาดหวังประการที่สี่ จากการขาดแคลนแรงงานในช่วงวิกฤติโควิด ส่งผลให้ภาคการผลิตมีปริมาณงานค้างเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์และได้มีการเพิ่มการจ้างงานในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี เมื่อความต้องการของตลาดมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเช่นในปัจจุบัน ส่งผลให้ภาคการผลิตมีแนวโน้มลดปริมาณการจ้างงานเพื่อให้สอดคล้องกัน ซึ่งคาดว่าบริษัทต่างๆ จะเริ่มระมัดระวังในการจ้างงานมากขึ้น และอาจจะมีการเลิกจ้างงานในบางกรณีประการที่ห้า แรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นและข้อจํากัดด้านอุปทานในช่วงวิกฤตโควิดกําลังผ่อนคลายลง รวมทั้ง ผู้ประกอบการเริ่มมีปริมาณสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น ทําให้เริ่มมีการลดราคาสินค้าด้วยโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อกระตุ้นยอดจําหน่ายและระบายสินค้าคงคลังที่ไม่ต้องการออก แนวโน้มราคาสินค้าจึงคาดว่าอาจจะลดลงอีกบริษัทวิจัยข้อมูล The Conference Board คาดการณ์ว่าความอ่อนแอทางเศรษฐกิจจะทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้นทั่วทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเริ่มขึ้นประมาณต้น

ปี2566 แนวโน้มนี้เชื่อมโยงกับอัตราเงินเฟ้อและนโยบายการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) อย่างไรก็ดี The Conference Board คาดการณ์ว่าการเติบโตของ GDP ที่แท้จริงในของสหรัฐฯ ปี2565 น่าจะอยู่ที่ 1.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่การเติบโตในปี2566 น่าจะชะลอตัวลงเหลือ 0% และการเติบโตในปี2567 จะกลับมาที่ 1.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในเร็วๆ นี้ อนึ่ง การเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี2566 คาดว่าน่าจะเริ่มมีการติดลบ อย่างไรก็ตาม การลดลงนี้มีอาจแนวโน้มค่อนข้างรุนแรงแต่จะมีระยะสั้น และการเติบโตน่าจะเริ่มดีดตัวขึ้นอีกครั้งในปี2567 เมื่ออัตราเงินเฟ้อลดลงอีกและธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เริ่มผ่อนปรนนโยบายการเงิน