Economic Research Service (ERS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (U.S. Department of Agriculture – USDA) ได้จัดทำรายงานเรื่อง Examining Pathogen-Based Import Refusals: Trends and Analysis From 2002 to 2019) พบข้อมูลการปฏิเสธการนำเข้าสินค้าอาหารในปี 2002 – 2019 ของ U.S. Food and Drug Administration (FDA) ที่เกิดจากการปนเปื้อนเชื้อโรค/สารพิษรวม 22,460 รายการ สรุปได้ ดังนี้

1. เชื้อโรคที่พบว่าปนเปื้อนในสินค้าอาหารนำเข้ามากที่สุด คือ แบคทีเรีย (Salmonella, Listeria, E. coli O157, Shigella) ไวรัส (Hepatitis A) และสารพิษ (patulin, Vibrio, aflatoxin, histamine) เรียงตามลำดับ ดังนี้

  ชนิดของเชื้อโรค จำนวนการนำเข้า (shipment) ที่พบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อโรค % ของการนำเข้าที่ตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อโรค
1 Salmonella 17,922 79.8
2 Listeria 2,463 11.0
3 Histamine 804 3.6
4 Aflatoxin 663 3.0
5 แบคทีเรียอื่นๆ 455 2.0
6 เชื้อโรคอื่นๆ 153 0.7

2. กลุ่มอาหารที่ถูกปฏิเสธนำเข้ามากที่สุดเนื่องจากพบเชื้อโรคปนเปื้อน คือ

กลุ่มอาหาร % ของการนำเข้ารวมทั้งสิ้นที่ตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อโรคที่พบมากที่สุด
อาหารทะเลและปลา 44.1 Salmonella
เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส เกลือ 26.3 Salmonella
เนยแข็งและผลิตภัณฑ์เนยแข็ง 7.1 Listeria
ผลไม้และผลิตภัณฑ์ผลไม้ 6.2 Salmonella
Nut และ Seeds ที่รับประทานได้ 5.1 Salmonella
ผักและผลิตภัณฑ์จากผัก 4.1 Salmonella
Snack 1.8 Salmonella

3. ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่ถูกปฏิเสธการนำเข้ามากที่สุดระหว่างปี 2002 – 2019
(1) ในภาพรวม ได้แก่ อินเดีย (22.9%) เม็กซิโก (14.9%) เวียดนาม (8.6%) อินโดนิเซีย (7.8%) และฝรั่งเศส (4.3%)
(2) ที่พบการปนเปื้อน Salmonella มากที่สุดคือ อินเดีย เม็กซิโก เวียดนาม และอินโดนิเซีย
(3) ที่พบการปนเปื้อน Listeria มากที่สุดคือ ฝรั่งเศส
(4) ไทย จัดเป็น อันดับที่ 9 (รองจากอินเดีย เม็กซิโก เวียดนาม อินโดนิเซีย ฝรั่งเศส บังคลาเทศ ไต้หวัน และจีน) พบสินค้าปนเปื้อนรวม 590 shipments หรือร้อยละ 2.64 ของการปฏิเสธนำเข้าทั้งหมด

เชื้อโรค จำนวนการนำเข้าที่พบการปนเปื้อน % ของการนำเข้าของไทยที่พบว่ามีการปนเปื้อน
Salmonella 491 83.22
Histamine 83 14.1
Listeria 9 1.5
Aflatoxin 7 1.2

4. การตรวจสินค้านำเข้าของ FDA

4.1 วิธีการตรวจสินค้า ใช้ข้อมูลจากประวัติการตรวจสอบสินค้าทั้งที่ด่านและที่โรงงานผลิต เพื่อประเมินความเสี่ยงของตัวสินค้าและ/หรือประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า โดยแบ่งเป็น 3 วิธี คือ
(1) ระบบ Predictive Risk-based Evaluation for Dynamic Import Compliance Targeting (PREDICT) สแกนอิเล็กทรอนิกส์  
(2) เจาะจงขอเปิดตู้ตรวจสินค้า FDA สามารถทำได้เพียงร้อยละ 1 – 2 ของการนำเข้าทั้งหมด  
(3) ปฏิเสธการนำเข้าโดยไม่ต้องตรวจสินค้าก่อน (Detention without physical examination – DWPE)

4.2 วัตถุประสงค์ของการตรวจสินค้า เพื่อหาสิ่งปนเปื้อนและการปิดฉลากที่ไม่ถูกต้อง (FDA ถือว่าการปิดฉลากที่ไม่ถูกต้องตามกฎระเบียบเข้าข่ายสินค้าปนเปื้อน)

4.3 สินค้าที่ถูกปฏิเสธการนำเข้าจะถูกบันทึกไว้ใน Operational and Administrative System for Import Support (OASIS) database ประกอบด้วย รหัสการปฏิเสธ กลุ่มสินค้า และประเทศแหล่งกำเนิด

ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ

  1. 1. หน่วยงานหลักของสหรัฐฯ ที่ดูแลด้านความปลอดภัยของสินค้าอาหาร ได้แก่
    • FDA เปรียบเสมือนองค์การอาหารและยาของไทย ดูแลสินค้าอาหารส่วนใหญ่ รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่มีส่วนผสมจาก dairy ผักและผลไม้สด เครื่องเทศ ถั่วงา ธัญพืช แป้ง ตลอดจนน้ำผักผลไม้ อาหารเสริม น้ำบรรจุขวด สารเติมแต่งอาหาร อาหารเด็ก (แต่ไม่รวมเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากไข่)
    • หน่วยงาน Food Safety and Inspection Service (FISI)  กระทรวงเกษตรฯ (USDA) ดูแลความปลอดภัยของสินค้าอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากไข่  ในกรณีสินค้าเกษตร เช่น ผักผลไม้สด เป็นหน้าที่ของหน่วยงาน APHIS – Animal and Plant Health Inspection Service https://www.fsis.usda.gov/inspection/import-export
  2. สหรัฐฯ ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของสินค้าอาหาร ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสินค้าอาหารไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของ FDA และ USDA ที่สำคัญ ได้แก่ 
  3. ผู้ส่งออกควรศึกษาข้อมูลสินค้าที่ถูกปฏิเสธนำเข้าใน FDA Import Alert เนื่องจากอาจส่งผลต่อความล่าช้าในการนำเข้าสินค้าหรือการถูกปฎิเสธนำเข้า (https://www.fda.gov/industry/actions-enforcement/import-alerts)
  4. ข้อมูลจาก World Integrated Trade Solution, World Bank (https://wits.worldbank.org/CountryProfile/en/Country/USA/Year/2019/TradeFlow/Import/Partner/by-region/Product/16-24_FoodProd)  ระบุว่าปี 2019 สหรัฐฯนำเข้าสินค้าอาหารรวม 75.35 พันล้านเหรียญฯ โดยมีแหล่งอุปทานสำคัญ ได้แก่
  ประเทศ        ล้านเหรียญฯ สัดส่วนต่อมูลค่านำเข้าสินค้าทั้งหมดจากประเทศนั้น
1 แคนาดา 12,906.12 3.95
2 เม็กซิโก 12,171.51 3.40
3 ฝรั่งเศส 6,027.9 10.31
4 อิตาลี 4,315.57 7.35
5 สิงคโปร์ 3,013.65 11.30
6 ไทย 2,676.13 7.69
7 สหราชอาณาจักร 2,563.13 4.00
8 จีน 2,384.57 0.50
9 บราซิล 2,299.05 7.17
10 เนเธอร์แลนด์ 1,753.57 5.68

5. U.S. International Trade Commission (USITC) ระบุ สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าอาหารจากประเทศไทยในปี 2020-2021 คิดเป็นร้อยละ 9.5 และ 7.12 ของมูลค่านำเข้ารวมจากไทยตามลำดับ ประกอบด้วยรายการสินค้าสำคัญ ดังนี้

  กลุ่มสินค้า 2020 2021 change
HS การนำเข้าสินค้าอาหารรวมทั้งสิ้น 3,614,821,268 3,374,196,416 6.66
16 อาหารทะเลแปรรูป 1,104,893,973 911,358,796 -17.52
20 ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ 594,012,147 686,252,440 15.53
10 ธัญพืช 694,317,998 501,547,343 -27.76
21 ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ 334,432,039 316,745,431 -5.29
03 อาหารทะเลสดและแช่เยือกแข็ง 261,218,659 265,612,178 1.68
19 ผลิตภัณฑ์ธัญพืช แป้ง หรือนม 210,923,251 224,422,382 6.40
08 ผลไม้สด 95,393,652 108,461,385 13.70
17 น้ำตาลและลูกกวาด 78,823,646 99,433,626 26.15
22 เครื่องดื่ม เหล้า และน้ำสมสายชู 91,730,120 95,762,981 4.40
11 ผลิตภัณฑ์แป้งจากธัญพืช เช่น  MALT; STARCHES; INULIN; WHEAT GLUTEN 84,187,659 82,944,324 -1.48
12 เมล็ดพืชน้ำมัน ผลไม้ที่ให้น้ำมัน ธัญพืชที่ให้น้ำมัน 29,171,751 27,571,587 -5.49
07 ผัก ราก หัว พืช 14,686,227 21,349,317 45.37
09 กาแฟ ชา เครื่องเทศ 11,461,658 15,662,746 36.65
18 โกโก้ และผลิตภัณฑ์จากโกโก้ (มูลค่านำเข้าส่วนใหญ่มาจากช็อกโกแลตที่ไม่ใช่เพื่อการค้าปลีก) 608,984 6,140,514 908.32
15 ไขหรือไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์หรือพืช   4,299,807 5,759,515 33.95
04 เนื้อนมไข่ (Dairy Produce) เช่นไข่นก น้ำผึ้ง และอื่นๆ 4,526,047 4,996,719 10.40
02 เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ (เช่น ขากบ) 133,650 175,132 31.04

ที่มาข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส (มีนาคม 2565)
Economic Research Service, U.S. Department of Agriculture

_____________________________________________
Website : http://ditp-overseas.com
Facebook: https://www.facebook.com/ditpoverseas
Youtube : https://bit.ly/36fT76e

#DITP #OMD2 #สพต2